fbpx

10 ข้อที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

เตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหว  ตอน 10 ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

<เมื่อเกิดแผ่นดินไหว>

1) รักษาความปลอดภัยของตัวเองไว้ก่อน

เมื่อรู้สึกถึงแรงสั่นหรือได้รับสัญญาณเตือนเหตุแผ่นดินไหวทางมือถือ ต้องคิดถึงความปลอดภัยของตัวเองเป็นอันดับแรก พาตัวเองไปอยู่ในจุดที่ “ไม่มีของหล่นใส่” “ไม่พังลงมา” “ไม่เคลื่อนที่” เช่น ใต้โต๊ะที่ทนทาน และดูท่าทีจนกว่าแรงสั่นจะลดกำลังลง

[ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่อาศัยห้องชั้นสูงๆ (10 ชั้นขึ้นไป)]
ชั้นสูงๆ จะรับแรงสั่นติดต่อกันสักพัก จึงอาจได้รับอันตรายจากการเคลื่อนไหวที่รุนแรง และอันตรายจากสิ่งของที่หล่นจากแรงสั่นไหวรุนแรง

<สิ่งที่ต้องทำทันทีหลังเกิดแผ่นดินไหว>

2) ตั้งสติ ตรวจสอบแหล่งไฟ แล้วจึงดับ


 หากใช้ไฟ เช่น ทำอาหารอยู่แล้วเกิดแผ่นดินไหว อย่ารีบร้อน ให้รอจนกว่าแรงสั่นลดกำลังลงแล้วจึงดับไฟ
 หากเกิดเพลิงไหม้ ตั้งสติแล้วจึงดับไฟ

3) ความรีบร้อนเป็นต้นเหตุการบาดเจ็บ


 หากอยู่ในห้องให้ระวังสิ่งของหล่นใส่ หรือเศษกระจกแตกให้ดี
 ไม่ผลีผลามออกข้างนอก เพราะอาจถูกสิ่งของ เช่น กระเบื้องหลังคา หน้าต่างกระจก ป้าย ฯลฯ หล่นใส่ได้

4) เปิดประตู/หน้าต่าง สร้างช่องทางหลบหนี


 เมื่อแรงสั่นลดกำลังลง ให้หาช่องทางสำหรับอพยพ

5) ไม่เข้าใกล้ประตู/กำแพง


 หากเกิดแผ่นดินไหวเมื่ออยู่ข้างนอก ไม่เข้าใกล้กำแพงอิฐ ฯลฯ

<สิ่งที่ต้องทำหลังเกิดแผ่นดินไหว>

6) อพยพอย่างถูกเวลา ระวังอัคคีภัย/สึนามิ


 หากรู้สึกถึงอันตรายจากการอาศัยในพื้นที่ที่อาจเกิดไฟไหม้ลุกลาม ให้อพยพไปยังจุดรวมพลหรือสถานที่อพยพ
 ในพื้นที่ชายฝั่ง หากรู้สึกถึงแรงสั่นไหวรุนแรงและมีการแจ้งเตือนสึนามิ ให้รีบอพยพไปยังจุดที่ปลอดภัย เช่น เนินเขา

7) ฟังข้อมูลที่ถูกต้อง ปฎิบัติอย่างถูกวิธี


 รับข้อมูลที่ถูกต้องจากวิทยุ โทรทัศน์ สถานีตำรวจดับเพลิง รัฐบาล ฯลฯ

8) ตรวจสอบความปลอดภัยของคนในบ้านและบ้านข้างเคียง


 เมื่อแน่ใจแล้วว่าคนในบ้านปลอดภัยดี ให้ตรวจสอบความปลอดภัยของคนในละแวกบ้าน

9) ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือผู้อื่น


 ให้ความช่วยเหลือเมื่อพบคนที่ถูกสิ่งของหล่นใส่หรือล้มทับ

10) ก่อนทำการอพยพ ตรวจสอบความปลอดภัยของที่อาศัย เช่น ไฟฟ้า และแก๊ส


 สิ่งสำคัญก่อนทำการอพยพ คือ การดึงเบรกเกอร์ลง และปิดวาวล์แก๊ส

ที่มา https://www.tfd.metro.tokyo.lg.jp/lfe/bou_topic/jisin/point10.htm

เตรียมถุงยังชีพ พร้อมรับมือแผ่นดินไหวกันเถอะ!

Related post

  1. รับมือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในญี่ปุ…

  2. การยกเลิก Lifeline (น้ำ ไฟ แก๊ส) ที…

  3. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าในป…

  4. โตเกียวปี2020 กับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก…

  5. รู้ไว้ใช่ว่า *ว่าด้วยการเรียกคิดเงิ…

  6. การสมัครอินเตอร์เน็ตบ้านที่ญี่ปุ่น

  7. คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับไวรัส COVID-1…

  8. ว่าด้วยเรื่องของ ‘ยากิโทริ…