ถ้าพูดถึงการย้ายบ้าน หลายคนคงนึกภาพความวุ่นวายในการติดต่อ การบริหารจัดการเวลา และยังมีค่าใช้จ่ายที่อาจตามมามากมายออกกัน แต่รู้ไหมว่า เราสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายในการย้ายบ้านและวันเวลาในการย้ายได้ไม่ยาก ตามไปดูกันว่า สรุปแล้วช่วงเวลาไหนที่เหมาะสมกับการย้ายบ้านที่สุดกัน?
ช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยง
- ช่วงเดือนมีนาคมไปจนถึงเมษายน
ถ้าพูดถึงการย้ายบ้าน แน่นอนว่าแต่ละคนก็มีเหตุผลในการเลือกที่จะย้ายบ้านต่างกันออกไป แต่ปัจจัยที่ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมากต้องย้ายที่อยู่คงหนีไม่พ้น การเข้าเรียน/ทำงาน รวมถึงการเปลี่ยนงาน/ย้ายที่ทำงาน ทำให้ต้องย้ายที่อยู่ใหม่พร้อมๆกัน “ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน” จึงเป็นช่วงพีคของเดือนที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์และบริษัทขนย้ายของ เมื่อทุกคนต่างอยากจะย้ายของช่วงเวลาเดียวกัน ค่าบริการในการขนย้ายจึงสูงกว่าช่วงเวลาอื่นๆในปี โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายในการขนย้ายช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนนี้จะสูงกว่าช่วงอื่นถึง 30-50% เลยทีเดียว
เพราะฉะนั้นช่วงเวลาที่หากไม่ได้เร่งรีบ/มีความจำเป็นแล้ว ควรหลีกเลี่ยงในการย้ายบ้านในช่วงเดือนมีนาคมไปจนถึงเมษายน
- ช่วงโกลเด้นท์วีค
หลังจากหมดช่วงพีคอย่างเดือนเมษายนไปแล้ว เทศกาลที่ตามมาติดๆก็คือ โกลเด้นท์วีค ที่จะเป็นช่วงวันหยุดติดต่อกันหลายวันของบริษัทต่างๆ ดังนั้นช่วงก่อนหน้าโกลเด้นท์วีคตารางการขนย้ายต่างๆจึงอาจจะแน่นเป็นพิเศษได้ เพราะฉะนั้นแนะนำว่าให้เริ่มหาที่อยู่ใหม่ช่วงเดือนพฤษภาคมและเตรียมตัวย้ายของหลังโกลเด้นท์วีคก็จะพอดีกัน
ควรเริ่มติดต่อย้ายบ้านเมื่อไหร่
ในการย้ายบ้านจำเป็นต้องติดต่อจัดการอะไรมากมาย ช่วงที่เริ่มย้ายบ้านจริงๆจึงควรเป็น 1 เดือนครึ่ง-2 เดือนก่อนหน้า เพราะถ้าห้องพักของคุณเป็นห้องเช่า โดยทั่วไปก็จะต้องแจ้งย้ายก่อนหน้า 1-2 เดือนขึ้นอยู่กับสัญญาของห้องนั้น รวมทั้งการติดต่อบริษัทที่ขนของควรจะติดต่อล่วงหน้า 1 เดือนเพื่อกำหนดวันย้ายให้ได้ตามที่ต้องการ
*ควรระวังหากคุณแจ้งย้ายออกช้า แล้วยังคงถูกเรียกเก็บเงินค่าเช่าให้ครบกำหนด คุณก็อาจต้องจ่ายค่าเช่าทั้ง 2 ห้องพร้อมกันอีกด้วย
เช็คลิสขั้นตอนที่ควรทำในการย้ายบ้าน
✓ ติดต่อย้ายออกจากที่อยู่ปัจจุบัน
✓ ติดต่อขอใบประเมินราคาจากบริษัทขนย้ายของและนัดหมาย
✓ ยกเลิกสัญญาอินเทอร์เน็ตและติดต่อทำสัญญาที่ใหม่
✓ ย้ายเบอร์โทรศัพท์
✓ ย้ายชื่อออกจากห้องเก่าและย้ายเข้าที่ใหม่
✓ ติดต่อดำเนินการพวกสาธารณูปโภค
✓ ติดต่อดำเนินการอื่นๆ (NHK,ธนาคาร,บริษัทบัตรต่างๆ เป็นต้น)
✓ ทำเรื่องเปลี่ยนที่อยู่ที่ระบุเป็นห้องเก่าให้ส่งไปที่ใหม่ที่ที่ทำการไปรษณีย์
✓ เตรียมตัวแพคของลงในกระดาษลังให้ง่ายในการขนย้าย
✓ ทำความสะอาดห้องในกลับคืนสภาพเดิม (เพื่อไม่ให้โดนเรียกเก็บค่าบำรุงซ่อมแซมห้องเพิ่มเติม)