fbpx

ข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่น

ด้วยยุคที่เทคโนโลยีมีความพัฒนาก้าวไกล  ข้อมูลต่างๆ สามารถอัพ หรือหาได้อย่างง่ายดายบนอินเตอร์เน็ต คาดว่าหลายท่านน่าจะเคยหาข้อมูลต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต หรือได้ทราบข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่นจากคนรอบตัวกันมาบ้าง  ซึ่งในข้อมูลเหล่านั้น ก็อาจจะมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริง  หรือยังมีข้อมูลที่ยังคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง

วันนี้ LandHousing จึงรวบรวมข้อมูลที่หลายท่านอาจจะเคยได้ยินกันบ้างแล้วมาสรุปข้อเท็จจริงให้ฟังกันอีกครั้ง

1) “ ที่ญี่ปุ่นเมื่ออาคารมีอายุครบ 30 ปีแล้ว จะต้องมีการทุบสร้างใหม่ ”

สำหรับข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง เนื่องจากกฎหมายญี่ปุ่นไม่ได้มีการกำหนดว่าตึกสามารถใช้งานได้ถึงเมื่อไหร่ อีกทั้งด้วยแนวคิดและเทคนิคด้านการเมนเทนแนนซ์ดูแลรักษาอาคารของญี่ปุ่นแล้ว  ทำให้อาคารสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน
คาดว่าข่าวลือดังกล่าวนี้อาจจะเกิดจากความเข้าใจผิดในเรื่อง “อายุการใช้งานตามกฎหมาย” ที่ใช้ในการคำนวนภาษีมากกว่า

2) “ อาคารสร้างใหม่ในโตเกียว ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี ”

เป็นความจริงที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ สัดส่วนของราคาอาคารสร้างใหม่ที่มีราคาสูงขึ้นมีจำนวนมาก แต่ทุกท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าในความเป็นจริงแล้วสัดส่วนอาคารมือสองในตลาดอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่นมีมากกว่าอาคารสร้างใหม่
ทั้งนี้เป็นเพราะคอนโดที่ญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาและก่อสร้างขึ้นในเมืองมาตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา  ทำให้พื้นที่ว่างที่เป็นพื้นที่ดีๆ มีความสะดวกสบายหลงเหลืออยู่น้อย ในขณะที่ในตลาดอาคารมือสองจะมีตัวเลือกมาก และราคาประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับคอนโดมิเนียมที่เพิ่งสร้างใหม่

ยกตัวอย่าง  ราคาคอนโดฯสร้างใหม่ในตัวเมืองโตเกียวเฉลี่ยอยู่ที่ 59 ล้านเยน ในขณะที่คอนโดฯมือสอง ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 34 ล้านเยน  และถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการรีโนเวทห้องใหม่ประมาณ 10 ล้านเยน คอนโดฯมือสองก็ยังคงมีราคาถูกกว่าคอนโดฯสร้างใหม่ถึง 15 ล้านเยน
นอกจากนี้ด้วยเทคนิคด้านการรีโนเวทที่มีมาตรฐานสูงของญี่ปุ่นแล้ว ทำให้สามารถเปลี่ยนห้องที่สร้างมากว่า 50 ปีให้เป็นห้องที่เหมือนกับเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ ได้  และยังมีประกันหลังการรีโนเวทใหม่  ทำให้สำหรับที่ญี่ปุ่นแล้วอาคารมือสองเป็นที่นิยมมากกว่าอาคารสร้างใหม่

3) “ ภาษีที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ญี่ปุ่นแพงมาก “

เป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่ลูกค้าที่เข้ามาปรึกษาเรื่องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ญี่ปุ่นกับทางบริษัทกังวลใจเป็นอย่างมากในช่วงแรกๆ โดยเฉพาะในส่วนของภาษีมรดกที่อัตราคิดภาษีสูงสุดอยู่ที่ 55% ซึ่งหากฟังแค่จำนวนอัตราภาษี ก็อาจจะรู้สึกได้ว่าเป็นอัตราที่สูง
แต่ในความเป็นจริงแล้วเกณฑ์ราคาที่นำมาใช้ในการคิดภาษีมรดกจะเป็นราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ไม่ใช่ราคาตลาด เช่นเดียวกันกับภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีผังเมือง ซึ่งจะเป็นราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด โดยส่วนมากจะอยู่ที่ประมาณ 60% ของราคาตลาด

ยกตัวอย่าง ห้องคอนโดฯที่ราคาขาย 49 ล้านเยน  แต่ราคาประเมินอยู่ที่ 30 ล้านเยน  ซึ่งเนื่องจากญี่ปุ่นมีเกณฑ์ลดหย่อนภาษีมรดกขั้นต้นที่ 36 ล้านเยน (อาจหักลดหย่อนได้มากขึ้น แล้วแต่กรณี) ห้องนี้จึงไม่จำเป็นต้องชำระภาษีมรดก
กล่าวโดยสรุปง่ายๆ คือ หากราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าน้อยกว่า 36 ล้านเยนลงไป ก็ไม่ต้องชำระภาษีมรดก ในกรณีที่คิดภาษีจากราคาประเมินเช่นนี้ เมื่อเทียบกับในหลายประเทศที่คิดภาษีจากราคาตลาด  ก็อาจกล่าวได้ว่าภาษีที่ญี่ปุ่นถูกกว่าประเทศเหล่านั้น

4 “ คนญี่ปุ่นไม่ซื้อบ้าน”

ครั้งหนึ่งญี่ปุ่นเคยมียุคที่มีค่านิยมที่ว่า “จะได้เริ่มใช้ชีวิตจริงๆ ก็ต่อเมื่อมีบ้านเป็นของตัวเองแล้ว” ที่ถือว่าการซื้อบ้านเป็นเป้าหมายใหญ่ที่สุดในชีวิต  แต่เมื่อเวลาผ่านไปค่านิยม วิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์การทำงานต่างๆ ก็ได้มีการเปลี่ยนไป จึงเริ่มมีค่านิยมที่ว่า “การซื้อบ้าน ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเสมอไป” เกิดขึ้นมาเหมือนกัน  แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม 75.9 % ของคนญี่ปุ่นทั่วประเทศก็ได้ซื้อบ้านเป็นของตัวเอง  และในปัจจุบันก็ยังคงมีคนที่คิดว่าอยากจะมีบ้านเป็นของตัวเองเป็นจำนวนมากอยู่ดี

จากที่ได้พูดถึงข้อเท็จจริงของข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นกันไปแล้ว  หวังว่าทุกท่านจะได้เข้าใจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่นกันมากขึ้น  หากท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่นสามารถติดต่อสอบถามบริษัท LandHousing ได้ที่ ↓

● Tel: 02-048-2271 (สาขาไทย) / 080-3503-1594 (ติดต่อสต๊าฟคนไทยที่ญี่ปุ่นโดยตรง)

  • Line@ : @landhousing
  • E-mail : thailand@landhousing.co.jp

 

Related post

  1. ภาษีที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์…

  2. บ้านในฝันใจกลางโตเกียว ดื่มด่ำกับวิวซากุระ 360 องศา

    NEW! พิเศษ บ้านวิวซากุระ ใน Meguro

  3. 【ซื้อบ้านที่ญี่ปุ่นกัน】ซื้อแมนชั่นห…

  4. คอนโดรีโนเวท ทางเลือกใหม่ประหยัดกว่…

  5. อสังหาเกียวโตทำ Airbnb

    NEW! บ้านทำ Airbnb at KYOTO

  6. บ้านเดี่ยว VS คอนโดมิเนียมในญี่ปุ่น…

  7. การขายอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่น

  8. Top 3 ย่านคอนโดญี่ปุ่นถูกที่สุดในเข…