fbpx

ขึ้นรถไฟญี่ปุ่นในชั่วโมงเร่งด่วนอย่างไรให้ปลอดภัย

หากพูดถึงรถไฟญี่ปุ่นแล้วสิ่งหนึ่งที่ทุกคนน่าจะนึกถึงก็คือรถไฟตอนเช้าที่เต็มไปด้วยผู้คนอัดแน่น เป็นภาพที่เพียงแค่มองก็หายใจไม่ออกแล้ว ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยากโดยเฉพาะหากขึ้นรถไฟในช่วง Rush Hour (ช่วงเวลาประมาณ7-9โมงเช้า)

และถ้าต้องเจอสถานการณ์แบบนี้ทุกวันทั้งเช้าและเย็น ย่อมทําให้เกิดความเครียดจนถึงอาจจะทําให้เสียสุขภาพได้ รวมไปถึงบางคนอาจมีความกังวลว่าในพื้นที่เล็กๆ ที่ต้องยืนเบียดกันควรยืนตรงไหนหรือทําอย่างไร ดังนั้นจึงควรหาทางรับมือว่าจะทําอย่างไรเพื่อที่จะให้ตัวเราปลอดภัยมากที่สุด

ภาพด้านบนเป็นการจําลองพื้นที่ในรถไฟ โดยจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นตัวเลข 1-6 และ โซน A B C ซึ่งการยืนในแต่ละพื้นที่นี้จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้

ตําแหน่งหมายเลข 1 และ 2
ข้อดี   → 1. เนื่องจากยืนที่มุมพอดีแม้ว่าในรถไฟจะมีคนเยอะแค่ไหนก็ไม่จําเป็นต้องขยับตัวหรือเปลี่ยนท่ายืน
2. ลงสถานีเป้าหมายได้สะดวก
3. สามารถยืนพิงเล่นโทรศัพท์หรืออ่านหนังสือได้

ข้อเสีย → 1. ถ้าบังเอิญมีที่นั่งว่างไม่สามารถเดินไปนั่งได้
2. อาจโดนเบียดหรือโดนทับจากคนที่ยืนข้างๆ ได้ง่าย ดังนั้นหากเป็นผู้หญิงจึงควรระวังเรื่องท่ายืน

ตําแหน่งหมายเลข 3 : คล้ายกับตําแหน่งที่ 1 และ 2 แต่ไม่มีที่พิงด้านหลังทําให้เบียดกับคนข้างหลังมากขึ้น แต่โดยปกติแล้วตรงนี้จะเป็นพื้นที่สําหรับรถ wheelchair ดังนั้นควรเอื้อเฟื้อให้แก่ผู้โดยสารที่ต้องการใช้พื้นที่

ตําแหน่งหมายเลข 4 : เป็นตำแหน่งสำหรับรถ wheelchair ที่อยู่ด้านในสุด และเป็นบริเวณที่มีที่พิงทําให้ยืนได้นานโดยไม่เหนื่อย และมีข้อดีคล้ายกับตําแหน่งที่ 1 และ 2 คือยืนได้มั่นคงไม่เอียงไปตามรถไฟ สามารถพิงเล่นโทรศัพท์หรืออ่านหนังสือได้ แต่ต้องระวังเรื่องการลงรถไฟเพราะตําแหน่งนี้ค่อนข้างไกลจากประตูทางออก หากอยู่ในรถไฟขบวนที่แน่นมากๆ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อใกล้ถึงสถานีเป้าหมาย ไม่เช่นนั้นแล้วอาจลงไม่ทัน

ตําแหน่งหมายเลข 5 และ 6
ข้อดี   → 1. สามารถยืนพิงผนังได้
2. ยืนได้มั่นคง

ข้อเสีย → 1. หากรถไฟแน่นมากจะออกได้ยาก
2. ต้องระวังคนที่เดินเปลี่ยนโบกี้ภายในรถไฟ

โซน A B C
โซน A เป็นโซนที่อยู่ตรงกลางระหว่างทางเข้าทางออกของรถไฟ ทําให้ในบริเวณนี้เป็นบริเวณที่ผู้โดยสารแน่นและเบียดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด และเมื่อเทียบกับโซน B หรือ C โอกาสที่จะได้นั่งก็มีน้อยกว่า เพราะเป็นบริเวณที่ไม่มีที่นั่งทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ดังนั้นหากต้องการนั่ง (ในกรณีเมื่อมีที่นั่งว่าง) จึงควรยืนที่บริเวณ B หรือ C ซึ่งเป็นโซนยืนหน้าที่นั่ง แต่หากเปรียบเทียบระหว่างโซน B และ C โซน B จะสามารถหนีความแน่นของขบวนรถได้ดีกว่าเพราะมีพื้นที่ในการขยับตัวมากกว่า (มีหนึ่งฝั่งที่ไม่ติดที่นั่ง) ดังนั้น เรียงลําดับบริเวณที่ควรยืนมากที่สุดไปน้อยที่สุดได้ดังนี้ B > C > A

♦ แต่หากต้องการเปลี่ยนไปยืนในบริเวณ 4 5 หรือ 6 ควรยืนในโซน C มากกว่า B

แต่ละพื้นที่บนรถไฟมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันตามที่กล่าวไปข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองหรือความชอบของแต่ละคนด้วยว่าสะดวกยืนบริเวณไหน แต่เพื่อความสะดวกสบายที่สุดในการขึ้นรถไฟจึงควรพิจารณาให้ดีและขึ้น-ลงรถไฟด้วยความระมัดระวัง

ขอบคุณข้อมูลจาก
natural-curly

Related post

  1. บริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์และเครื่อง…

  2. ค่าใช้จ่ายในญี่ปุ่น

    NEW! ค่าใช้จ่ายรายเดือนในญี่ปุ่น

  3. NEW 4 ขั้นตอนส่งคืนเอกสารไปรษณีย์

    NEW 4 ขั้นตอนส่งคืนเอกสารไปรษณีย์ญี…

  4. โหลดเลย!! แอปพลิเคชั่นแนะนำสำหรับผู…

  5. •ฮานาบิ• เทศกาลชมดอกไม้ไฟที่ญี่ปุ่น…

  6. ตำนานตุ๊กตาไล่ฝนที่มีความน่ากลัวซุก…

  7. เอาตัวรอดในญี่ปุ่นด้วยประโยคภาษาญี่…

  8. 【ประสบการณ์】พื้นฐานภาษาญี่ปุ่นสำคัญ…