Bousai 防災 หมายถึง การเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
หลายๆ คนคงจะทราบกันดีว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบเหตุภัยพิบัติค่อนข้างบ่อย ดังนั้น การเตรียมพร้อมรับกับเหตุการณ์ภัยพิบัติจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แลนด์เฮ้าส์ซิ่งจึงขอแนะนำบทความเกี่ยวกับการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับภัยพิบัติ โดยในบทความนี้จะขอแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมถุงยังชีพค่ะ
รายการสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต 1 – 2 วันระหว่างเกิดภัยพิบัติ
□ น้ำ (3 ลิตร/วัน/คน)
□ อาหารกระป๋อง
□ ถุงพลาสติก
□ ชุดปฐมพยาบาล
□ กระดาษทิชชู่
□ กระดาษชำระ
□ ทิชชู่เปียก
□ ถุงอุ่น (KAIRO)
□ ไฟแช็ก
□ ผ้าอนามัย (สำหรับผู้หญิง)
□ ยาสามัญประจำบ้าน
□ ห้องน้ำพกพา (ถุงขับถ่าย)
□ ไฟฉาย
□ ถ่านไฟฉาย
□ เงินสด/เหรียญ
□ แผนที่
□ แปรงสีฟันและยาสีฟัน
□ ผ้าห่ม/อุปกรณ์กันหนาว
อุปกรณ์ที่มีไว้แล้วอุ่นใจยามเกิดเหตุแผ่นดินไหว
□ หมวกนิรภัย ป้องกันของหล่นกระแทกหัว
□ ไฟคาดหัว
□ ถุงมือผ้า
□ นกหวีด
□ รองเท้าผ้าใบ
□ ร่ม
ข้อมูลที่แนะนำให้เขียนเตรียมไว้ ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน
□ ชื่อ-สกุลตัวคาตาคานะ
□ วันเกิด อายุ เพศ
□ กรุ๊ปเลือด
□ ประวัติการแพ้
□ ยาที่ใช้อยู่
□ ที่อยู่
□ เบอร์ติดต่อ
□ โรงเรียน/ที่ทำงาน
□ ผู้ติดต่อฉุกเฉิน
ทั้งหมดนี้ เก็บใส่กระเป๋าฉุกเฉินที่เตรียมไว้ ของที่มีวันหมดอายุก็อย่าลืมเขียนโน๊ตกันลืม เผื่อว่าพอถึงวันใกล้หมดอายุแล้วก็สามารถนำออกมาทานก่อนหมดอายุแล้วซื้อของใหม่ใส่เข้ามาเปลี่ยนนะคะ เตรียมใส่กระเป๋าไว้ พอถึงเวลาฉุกเฉินก็สามารถหยิบออกมาได้ทันที
บทความเกี่ยวกับการรับมือกับภัยพิบัติยังไม่หมดเท่านี้นะคะ ยังมีข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ ยามเกิดภัยพิบัติอีกมากมาย ติดตามกันนะคะ