fbpx

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น

รู้หรือไม่! กระแสไฟฟ้าในครัวเรือนของประเทศไทยจะจ่ายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดัน 220 โวลต์ และความถี่ 50 เฮิรตซ์ แต่ถ้าเราจะไปอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เราควรเตรียมตัวอย่างไรเพื่อทำให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ เอาล่ะ มาหาคำตอบกันเลย

 

แรงดันและความถี่ไฟฟ้า

ประเทศญี่ปุ่นใช้จ่ายไฟฟ้ากระแสสลับที่แรงดัน 110 โวลต์ทั่วประเทศ แต่กลับใช้ความถี่ที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิภาค ญี่ปุ่นตะวันออกหรือภูมิภาคคันโตใช้แบบ 50 เฮิรตซ์ ญี่ปุ่นตะวันตกหรือภูมิภาคคันไซใช้แบบ 60 เฮิรตซ์ เหตุผลคือในสมัยเมจิ แถบตะวันออกนำเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากเยอรมัน ส่วนแถบตะวันตกนำเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากอเมริกา แล้วก็ใช้กันมาแบบนี้จนถึงปัจจุบัน

ที่มาภาพ https://miraiz.chuden.co.jp/home/electric/contract/structure/frequency/

จากภาพจะเห็นได้ว่าแถบตะวันออกใช้แบบ 50 เฮิรตซ์ แถบตะวันตกใช้แบบ 60 เฮิรตซ์ เช่น ชิซุโอกะ ไอจิ กิฟุ มิเอะ ส่วนจังหวัดนากาโนะมีทั้ง 2 แบบ
เนื่องจากความถี่เป็นแบบนี้มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นส่วนมากเลยเป็นแบบ 50-60 เฮิรตซ์ แต่อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าความถี่ตรงกันหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุได้

เต้าเสียบและหัวปลั๊กไฟ

เต้าเสียบในประเทศญี่ปุ่นเป็นชนิดขาคู่หัวแบนเท่านั้น ส่วนปลั๊กไฟก็เป็นชนิดขาคู่หัวแบนเช่นกัน ดังนั้น ปลั๊กไฟแบบอื่นๆ จึงใช้ไม่ได้ เช่น ปลั๊กหัวกลม หรือปลั๊ก 3 ขา โปรดตรวจสอบหัวปลั๊กให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน


ที่มาภาพ : https://kurashi-no.jp/I0017302

 
การใช้หัวแปลงปลั๊กไฟ

ก่อนอื่นควรตรวจสอบว่าปลั๊กไฟเป็นแบบใด ถ้าเป็นแบบขาคู่หัวแบนอยู่แล้ว อันดับต่อมาควรตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ใดที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องผ่านตัวแปลง โดยดูจากหัวชาร์จหรืออะแด๊ปเตอร์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ที่รองรับแรงดันไฟฟ้าได้กว้างอยู่แล้วส่วนมากจะรองรับได้ 100-240 โวลต์ เช่น ที่ชาร์จโทรศัพท์ โน้ตบุ๊ค กล้องถ่ายรูป เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั่วโลก

หัวแปลงปลั๊กไฟใช้กรณีที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นแบบหัวกลม จะเอาไปเสียบปลั๊กหัวแบนที่ญี่ปุ่น


ที่มาภาพ : https://wowma.jp/item/420410273

นอกจากนี้ยังมีหัวแปลงปลั๊กไฟแบบยูนิเวอร์ซอลที่ใช้ได้ทั่วโลก หรือที่เรียกกันว่าหัวแปลงปลั๊กเอนกประสงค์ เผื่อต้องเดินทางไปประเทศอื่นๆ นอกจากญี่ปุ่น


ที่มาภาพ : Click

แต่ถ้าเป็นกรณีที่แรงดันไม่ตรงก็ไม่แนะนำให้เอาไป เช่น ไดร์เป่าผม เตารีด ถ้าเอาไปใช้งานก็ใช้ได้แต่ไฟไม่ร้อน เพราะที่ญี่ปุ่นแรงดันไฟฟ้าเบากว่าที่ไทย ในทางกลับกัน ถ้าเอาเครื่องใช้ไฟฟ้า 110 โวลต์จากญี่ปุ่นมาใช้ที่ไทย ก็จะช็อตไปเลย เพราะไทยแรงดันไฟฟ้าแรงกว่าญี่ปุ่น
หากจำเป็นต้องใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ ควรซื้อหม้อแปลงที่แปลงแรงดันไฟฟ้าจาก 110 โวลต์เป็น 220 โวลต์


ที่มาภาพ : https://item.rakuten.co.jp/lvyuan/dt-1000va/

หากต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ควรนำปลั๊กสามตาไปด้วย เพราะที่พักบางที่อาจมีเต้าเสียบไม่มาก

การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไทยไปใช้ในญี่ปุ่นควรตรวจสอบอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ปลั๊กแปลงขาเสียบและตัวแปลงไฟฟ้าสามารถหาได้ในตัวเมืองตามย่านอิเล็กทอนิกส์ เช่น ย่านอากิฮาบาระที่โตเกียว ย่านนิปปงบาชิที่โอซาก้า หากจะอาศัยในญี่ปุ่นเป็นเวลานาน ควรซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประเทศญี่ปุ่น

Related post

  1. 3 พิกัดสถานที่เก็บองุ่นทานแบบไม่อั้…

  2. タイへのボランティア活動

  3. ชวนดูความคิดเห็นคนญี่ปุ่นกับการรับม…

  4. rental fee

    การจัดการค่าใช้จ่ายตอนไม่อยู่ญี่ปุ่…

  5. เมนูอาหาร New normal สไตล์คนญี่ปุ่น…

  6. ชวนดูสินค้าน่ารักสารพัดประโยชน์จาก …

  7. NEW! Landmark ย่าน “Higashi-…

  8. การสมัครอินเตอร์เน็ตบ้านที่ญี่ปุ่น