fbpx

ไม่ระวังกฎดูแลรักษาห้อง อาจเกิดปัญหาตอนย้ายออก!

สิ่งที่อาจกลายเป็นปัญหาได้ง่ายที่สุดในการเช่าห้องที่ญี่ปุ่นคือ ปัญหาเรื่องการคืนเงินค่ามัดจำหรือเรียกเก็บเงินชดใช้ค่าบำรุงซ่อมแซมห้อง

มาดูตัวอย่างจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงกัน

คุณ A

  • สูบบุหรี่ภายในห้อง
  • ตอนจะย้ายออกจากห้อง พบรอยเปื้อนจากบุหรี่ จึงถูกเรียกเก็บค่าเปลี่ยนผนังห้องเป็นจำนวนเงิน 50,000 เยน
  • ก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บค่ามัดจำ 50,000 เยนไป เงินส่วนนั้นถูกหักค่าทำความสะอาดห้อง 30,000 เยนไป จึงทำให้ถูกเรียกเก็บเงินอีก 30,000 เยนในส่วนที่ขาด

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

⇒ ที่ประเทศญี่ปุ่น ในส่วนค่าชดเชยในการซ่อมแซมความเสียหายในกรณีที่เกิดจากการสูบบุหรี่ เช่น สีตามผนัง/พื้นเปลี่ยนไปจากเดิม มีกลิ่นติดภายในห้อง ทั้งหมดนี้ผู้เช่าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยอัตราส่วนในการรับผิดชอบค่าบำรุงรักษานี้จะแบ่งตามระยะเวลาการเข้าอยู่ของผู้เช่า จากคู่มือแนะนำของทางกระทรวงคมนาคมผนัง/แผ่นวอลเปเปอร์นั้นนับเป็น “สิ่งของที่ใช้แล้วหมดไป” แม้จะเป็นเช่นนั้นเมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 (จากระยะเวลาที่ผู้เช่าเข้าพัก) ตัวผนัง/แผ่นวอลเปเปอร์นั้นยังคงนับว่าเป็นของที่มีมูลค่าอยู่ที่ 1 เยน

ตัวอย่างเช่น กรณีที่อาศัยเป็นระยะเวลา 2 ปี ภาระที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบอยู่ที่ 65% และผู้ให้เช่าจะต้องรับผิดชอบอีก 35%

แต่ทว่ากรณีที่ในสัญญาระบุไว้ว่า การสูบบุหรี่ถือเป็นการฝ่าฝืนสัญญาของผู้เช่า บางกรณีก็อาจจะเรียกเก็บค่าเสียหายจากผู้เช่าเต็มจำนวนก็เป็นได้

(* กระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่น ครอบคลุมทั้งกระทรวงที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค คมนาคม และการท่องเที่ยว)

คุณ B

・หลังจากที่เข้าพักแล้ว บริเวณพื้นไม้/พื้นที่ปูแบบ Flooring มีรอยขีดข่วน แต่ไม่ได้แจ้งกับบริษัทที่ดูแลห้อง

・ตอนที่จะย้ายออก ถูกเรียกร้องให้รับผิดชอบรอยที่อยู่บนพื้นนั้น โดยถูกเรียกเก็บค่าปูพื้นใหม่เป็นเงิน 50,000 เยน

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

⇒ บริษัทที่ดูแลห้องหลายแห่งมักจะแจ้งให้ผู้เช่าใหม่ส่ง “ใบตรวจเช็คภายในห้องตอนที่เข้าอยู่” จุดประสงค์ในการแจ้งคือ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับรู้ข้อมูลสภาพภายในห้องทั้งรอยขีดข่วนและรอยเลอะต่างๆ เมื่อส่งใบบันทึกนี้ไปก็จะช่วยป้องกันและลดความขัดแย้งในการปัดความรับผิดชอบได้ แต่ว่าในกรณีที่ไม่มี “ใบตรวจเช็คภายในห้องตอนที่เข้าอยู่” หรือไม่ได้ส่งใบนี้ ตามกฎระเบียบแล้วเมื่อพบรอยต่างๆ ผู้เช่าอาจกลายเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบได้ เพราะฉะนั้นเราควรกรอกและส่งเอกสารนี้ให้กับบริษัทที่ดูแลห้องหลังจากเข้าพักแล้ว

ในเคสนี้นาย B มีรูปถ่ายที่ลงวันที่ไว้ จึงได้ใช้เป็นหลักฐานในการต่อรองกับเจ้าของ ทำให้เจ้าของไม่เก็บค่าบำรุงซ่อมแซมดังกล่าว เห็นได้ว่านอกจากจดบันทึกลงใบที่เขาให้แล้ว ไม่ควรลืมถ่ายรูปสภาพห้อง/รอยต่างๆไว้ยืนยันเช่นกัน

 “ไม่ได้เงินมัดจำคืนได้อย่างไร”  “ทำไมโดนเรียกเก็บเงินแพงขนาดนี้”

เพื่อไม่ให้เกิดความสงสัย หรือความไม่พอใจที่กล่าวมา ผู้ที่เข้าพักควรจะทราบกฎระเบียบอันแสนละเอียดของที่ญี่ปุ่นไว้ก่อน จะได้ไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าจะต้องชดใช้เงินส่วนไหน สำหรับในโตเกียวแล้ว เขามีการทำหนังสือแนะแนวในการเข้าพักและยังมีภาษาอังกฤษอีกด้วย คลิกอ่านเป็นแนวทางกันได้เลย↓

http://www.juutakuseisaku.metro.tokyo.jp/juutaku_seisaku/tintai/pdf/310-23-00-jyuutaku_eng.pdf

สรุปจุดที่เราควรระวังกันมีดังต่อไปนี้★

  • นอกจากกรณีที่เราทำสปรกหรือทำพังแล้ว ผู้เช่าไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายค่าเสียหาย : อย่างกรณีที่ผนังวอลเปเปอร์นั้นเก่าไปตามการใช้งานปกติ หรือสีพื้นลอกไป  กรณีดังกล่าวเป็นการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน เพราะฉะนั้นเจ้าของห้องจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
  • กรณีผนังหลังโทรทัศน์/ตู้เย็นเป็นรอยไหม้สีดำ : กรณีนี้ก็ถือว่าเป็นการใช้งานตามปกติ จึงไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงิน
  • กรณีที่ทำกำแพงและพื้นแบบคุชชั่น/พรมเลอะ :

・กรณีนี้จำเป็นต้องคิดค่าเปลี่ยนตามการคิดค่าเสื่อมราคาของสิ่งของตามอายุการใช้งานแล้วแบ่งค่าใช้จ่าย ว่าใครจะต้องชำระเท่าไหร่บ้าง

・ตามคู่มือคำแนะนำของกระทรวงคมนามคม ถึงแม้ว่าเวลาเข้าพักที่ใช้งานส่วนนั้นจะผ่านไป 6 ปีแล้ว มูลค่าของสิ่งนั้นยังคงอยู่ที่ 1 เยน มูลค่าจะไม่ลดลงไปจนเป็น 0 เยน  เพราะฉะนั้นผู้เช่าก็จะต้องรับผิดชอบภาระส่วนนี้เช่นกัน

・แต่ทว่าอัตราการแบ่งความรับผิดชอบจะถูกกำหนดต่างกันออกไปในสัญญาแต่ละฉบับ (ตามคู่มือแนะนำนั้นเป็นเพียงดัชนีที่แนะนำในการแบ่งความรับผิดชอบเท่านั้น ไม่ใช่กฎแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นทุกท่านควรยืนยันจากเนื้อหาในตัวสัญญามากกว่า)

  • กรณีที่ทำพื้นเป็นรอย :

・ในการซ่อมแซมพื้นที่ปูด้วยไม้ ตามระเบียบแล้วผู้เข้าพักจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน โดยไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาจากอายุการใช้งาน

・ควรระวังการใช้เก้าอี้ที่มีล้อเลื่อนและล้อของกระเป๋าลาก เพราะเป็นเหตุให้เกิดรอยตามพื้นได้ง่าย

  • กรณีเกิดเชื้อราจากการไอน้ำและฝนและการผุกร่อนของพื้น :

・ถ้าเป็นการใช้ที่ผิดวิธีหรือใช้โดยไม่ได้ระมัดระวังแล้ว ความรับผิดชอบจะอยู่ที่ผู้เช่า

・สามารถป้องกันได้ง่ายๆ โดยมั่นระบายอากาศภายในห้อง และใช้เครื่องระบายอากาศ

・หากเปิดหน้าต่างระบายอากาศแล้วอย่าลืมปิดให้ดีก่อนออกไปข้างนอกด้วย

  • การทำความสะอาดห้องและแอร์ :

・ในเงื่อนไขพิเศษทั่วไปมักจะระบุไว้ว่า ผู้เช่าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ทั้งหมดนี้เป็นกฎหลักๆที่ผู้เช่าควรทำความเข้าใจให้ดี เพื่อให้สามารถย้ายออกได้อย่างไร้กังวล :-)

Related post

  1. NEW! Ban Rak Machiya 2 : Men Share …

  2. Luxurious 1K Rental Mansion in Hakusan!

    NEW! Mansion in Hakusan – Lux…

  3. ห้องพักสำหรับเช่าในญี่ปุ่น ย่าน Minamisenju

    [RENT] ห้องเช่าย่าน Minamisenju, J…

  4. แชร์ประสบการณ์แชร์เฮ้าส์โตเกียว

  5. ค่าเช่าห้องที่ญี่ปุ่นถูกแพงขึ้นอยู่…

  6. รวมคำถามเกี่ยวกับการเช่าห้องที่ญี่ป…

  7. ทำไมห้องเช่าต้องเปลี่ยนกุญแจ

    New ทำไมห้องเช่าญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนก…

  8. บริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์และเครื่อง…