fbpx

ไม่ระวังกฎดูแลรักษาห้อง อาจเกิดปัญหาตอนย้ายออก!

สิ่งที่อาจกลายเป็นปัญหาได้ง่ายที่สุดในการเช่าห้องที่ญี่ปุ่นคือ ปัญหาเรื่องการคืนเงินค่ามัดจำหรือเรียกเก็บเงินชดใช้ค่าบำรุงซ่อมแซมห้อง

มาดูตัวอย่างจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงกัน

คุณ A

  • สูบบุหรี่ภายในห้อง
  • ตอนจะย้ายออกจากห้อง พบรอยเปื้อนจากบุหรี่ จึงถูกเรียกเก็บค่าเปลี่ยนผนังห้องเป็นจำนวนเงิน 50,000 เยน
  • ก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บค่ามัดจำ 50,000 เยนไป เงินส่วนนั้นถูกหักค่าทำความสะอาดห้อง 30,000 เยนไป จึงทำให้ถูกเรียกเก็บเงินอีก 30,000 เยนในส่วนที่ขาด

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

⇒ ที่ประเทศญี่ปุ่น ในส่วนค่าชดเชยในการซ่อมแซมความเสียหายในกรณีที่เกิดจากการสูบบุหรี่ เช่น สีตามผนัง/พื้นเปลี่ยนไปจากเดิม มีกลิ่นติดภายในห้อง ทั้งหมดนี้ผู้เช่าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยอัตราส่วนในการรับผิดชอบค่าบำรุงรักษานี้จะแบ่งตามระยะเวลาการเข้าอยู่ของผู้เช่า จากคู่มือแนะนำของทางกระทรวงคมนาคมผนัง/แผ่นวอลเปเปอร์นั้นนับเป็น “สิ่งของที่ใช้แล้วหมดไป” แม้จะเป็นเช่นนั้นเมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 (จากระยะเวลาที่ผู้เช่าเข้าพัก) ตัวผนัง/แผ่นวอลเปเปอร์นั้นยังคงนับว่าเป็นของที่มีมูลค่าอยู่ที่ 1 เยน

ตัวอย่างเช่น กรณีที่อาศัยเป็นระยะเวลา 2 ปี ภาระที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบอยู่ที่ 65% และผู้ให้เช่าจะต้องรับผิดชอบอีก 35%

แต่ทว่ากรณีที่ในสัญญาระบุไว้ว่า การสูบบุหรี่ถือเป็นการฝ่าฝืนสัญญาของผู้เช่า บางกรณีก็อาจจะเรียกเก็บค่าเสียหายจากผู้เช่าเต็มจำนวนก็เป็นได้

(* กระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่น ครอบคลุมทั้งกระทรวงที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค คมนาคม และการท่องเที่ยว)

คุณ B

・หลังจากที่เข้าพักแล้ว บริเวณพื้นไม้/พื้นที่ปูแบบ Flooring มีรอยขีดข่วน แต่ไม่ได้แจ้งกับบริษัทที่ดูแลห้อง

・ตอนที่จะย้ายออก ถูกเรียกร้องให้รับผิดชอบรอยที่อยู่บนพื้นนั้น โดยถูกเรียกเก็บค่าปูพื้นใหม่เป็นเงิน 50,000 เยน

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

⇒ บริษัทที่ดูแลห้องหลายแห่งมักจะแจ้งให้ผู้เช่าใหม่ส่ง “ใบตรวจเช็คภายในห้องตอนที่เข้าอยู่” จุดประสงค์ในการแจ้งคือ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับรู้ข้อมูลสภาพภายในห้องทั้งรอยขีดข่วนและรอยเลอะต่างๆ เมื่อส่งใบบันทึกนี้ไปก็จะช่วยป้องกันและลดความขัดแย้งในการปัดความรับผิดชอบได้ แต่ว่าในกรณีที่ไม่มี “ใบตรวจเช็คภายในห้องตอนที่เข้าอยู่” หรือไม่ได้ส่งใบนี้ ตามกฎระเบียบแล้วเมื่อพบรอยต่างๆ ผู้เช่าอาจกลายเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบได้ เพราะฉะนั้นเราควรกรอกและส่งเอกสารนี้ให้กับบริษัทที่ดูแลห้องหลังจากเข้าพักแล้ว

ในเคสนี้นาย B มีรูปถ่ายที่ลงวันที่ไว้ จึงได้ใช้เป็นหลักฐานในการต่อรองกับเจ้าของ ทำให้เจ้าของไม่เก็บค่าบำรุงซ่อมแซมดังกล่าว เห็นได้ว่านอกจากจดบันทึกลงใบที่เขาให้แล้ว ไม่ควรลืมถ่ายรูปสภาพห้อง/รอยต่างๆไว้ยืนยันเช่นกัน

 “ไม่ได้เงินมัดจำคืนได้อย่างไร”  “ทำไมโดนเรียกเก็บเงินแพงขนาดนี้”

เพื่อไม่ให้เกิดความสงสัย หรือความไม่พอใจที่กล่าวมา ผู้ที่เข้าพักควรจะทราบกฎระเบียบอันแสนละเอียดของที่ญี่ปุ่นไว้ก่อน จะได้ไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าจะต้องชดใช้เงินส่วนไหน สำหรับในโตเกียวแล้ว เขามีการทำหนังสือแนะแนวในการเข้าพักและยังมีภาษาอังกฤษอีกด้วย คลิกอ่านเป็นแนวทางกันได้เลย↓

http://www.juutakuseisaku.metro.tokyo.jp/juutaku_seisaku/tintai/pdf/310-23-00-jyuutaku_eng.pdf

สรุปจุดที่เราควรระวังกันมีดังต่อไปนี้★

  • นอกจากกรณีที่เราทำสปรกหรือทำพังแล้ว ผู้เช่าไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายค่าเสียหาย : อย่างกรณีที่ผนังวอลเปเปอร์นั้นเก่าไปตามการใช้งานปกติ หรือสีพื้นลอกไป  กรณีดังกล่าวเป็นการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน เพราะฉะนั้นเจ้าของห้องจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
  • กรณีผนังหลังโทรทัศน์/ตู้เย็นเป็นรอยไหม้สีดำ : กรณีนี้ก็ถือว่าเป็นการใช้งานตามปกติ จึงไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงิน
  • กรณีที่ทำกำแพงและพื้นแบบคุชชั่น/พรมเลอะ :

・กรณีนี้จำเป็นต้องคิดค่าเปลี่ยนตามการคิดค่าเสื่อมราคาของสิ่งของตามอายุการใช้งานแล้วแบ่งค่าใช้จ่าย ว่าใครจะต้องชำระเท่าไหร่บ้าง

・ตามคู่มือคำแนะนำของกระทรวงคมนามคม ถึงแม้ว่าเวลาเข้าพักที่ใช้งานส่วนนั้นจะผ่านไป 6 ปีแล้ว มูลค่าของสิ่งนั้นยังคงอยู่ที่ 1 เยน มูลค่าจะไม่ลดลงไปจนเป็น 0 เยน  เพราะฉะนั้นผู้เช่าก็จะต้องรับผิดชอบภาระส่วนนี้เช่นกัน

・แต่ทว่าอัตราการแบ่งความรับผิดชอบจะถูกกำหนดต่างกันออกไปในสัญญาแต่ละฉบับ (ตามคู่มือแนะนำนั้นเป็นเพียงดัชนีที่แนะนำในการแบ่งความรับผิดชอบเท่านั้น ไม่ใช่กฎแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นทุกท่านควรยืนยันจากเนื้อหาในตัวสัญญามากกว่า)

  • กรณีที่ทำพื้นเป็นรอย :

・ในการซ่อมแซมพื้นที่ปูด้วยไม้ ตามระเบียบแล้วผู้เข้าพักจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน โดยไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาจากอายุการใช้งาน

・ควรระวังการใช้เก้าอี้ที่มีล้อเลื่อนและล้อของกระเป๋าลาก เพราะเป็นเหตุให้เกิดรอยตามพื้นได้ง่าย

  • กรณีเกิดเชื้อราจากการไอน้ำและฝนและการผุกร่อนของพื้น :

・ถ้าเป็นการใช้ที่ผิดวิธีหรือใช้โดยไม่ได้ระมัดระวังแล้ว ความรับผิดชอบจะอยู่ที่ผู้เช่า

・สามารถป้องกันได้ง่ายๆ โดยมั่นระบายอากาศภายในห้อง และใช้เครื่องระบายอากาศ

・หากเปิดหน้าต่างระบายอากาศแล้วอย่าลืมปิดให้ดีก่อนออกไปข้างนอกด้วย

  • การทำความสะอาดห้องและแอร์ :

・ในเงื่อนไขพิเศษทั่วไปมักจะระบุไว้ว่า ผู้เช่าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ทั้งหมดนี้เป็นกฎหลักๆที่ผู้เช่าควรทำความเข้าใจให้ดี เพื่อให้สามารถย้ายออกได้อย่างไร้กังวล :-)

Related post

  1. การยกเลิก Lifeline (น้ำ ไฟ แก๊ส) ที…

  2. [New] ห้องเช่าในญี่ปุ่น ย่าน Meguro…

  3. apartment room1

    5 สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องที่ญี่ปุ่…

  4. ห้องเช่าญี่ปุ่น ย่าน Yoga

    NEW! ห้องเช่าญี่ปุ่น ย่าน Yoga

  5. บริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์และเครื่อง…

  6. airbnb

    Airbnbญี่ปุ่น ถูกกฎหมายหรือไม่?

  7. เบอร์โทรศัพท์ญี่ปุ่นยังจำเป็นอยู่ไห…

  8. ห้องเช่าญี่ปุ่นย่าน Ikebukuro Arms Higashi Ikebukuro 1K ห้องขนาด 20.82 ตารางเมตร สร้างเมื่อปี 2002 ค่าเช่า 75,000 เยน ค่าส่วนกลาง 10,000 เยน (ไม่รวมค่าสาธารณูปโภคและบริการรายเดือนอื่นๆ) ค่ามัดจำไม่มี ค่าขอบคุณเจ้าของ 1 เดือน

    New ห้องเช่าญี่ปุ่นย่าน Ikebukuro