fbpx

ตู้รับพัสดุ ส่งเมื่อไหร่ก็สะดวก 

ยุคออนไลน์แบบนี้ที่ความสะดวกสบายของเทคโนโลยีเข้าถึงแทบทุกหนแห่ง จึงไม่น่าแปลกที่อินเทอร์เน็ตจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Amazon หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า อะมาซอน รวมถึงแบรนด์ต่างๆของญี่ปุ่นที่สามารถสั่งทางออนไลน์ได้เช่นกัน แต่ปัญหาที่หลายคนพบ หลังจากที่ช้อปปิ้งสั่งของทางอินเทอร์เน็ตแล้ว ก็คือเมื่อของมาส่งแล้วแต่กลับไม่อยู่ที่ห้อง ไม่มีใครเซ็นรับพัสดุให้ หรือจะนัดรับก็ไม่สะดวก 

ปัญหาพวกนี้จะหมดไป เมื่อที่พักของคุณมี 「宅配ボックス」หรือ ตู้รับพัสดุนั่นเอง นอกจากตู้จดหมายทั่วไปที่เรามักเห็นหน้าอพาร์ทเม้นท์/คอนโดแล้ว หลายคนที่อาศัยอยู่ญี่ปุ่นคงจะเคยเห็นเจ้าตู้ที่มีหน้าตาแบบนี้ วางอยู่ด้านล่างอพาร์ทเม้นท์/แมนชั่นต่างๆอยู่บ่อยครั้ง มีช่องใส่ของทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ พร้อมปุ่มตัวเลขให้กด 

「宅配ボックス」คืออะไร

มันคือตู้ไว้สำหรับรับพัสดุ ในกรณีที่ของมาส่งแล้วแต่เราไม่สามารถรับได้ด้วยตนเอง หรือมาส่งตอนที่เราไม่อยู่บ้านนั้นเอง โดยเมื่อเจ้าหน้าที่มาส่งของแล้วแต่เราไม่อยู่ เขาก็จะนำใบที่แจ้งว่านำของมาส่งเมื่อไม่อยู่พร้อมกับรหัสที่จะใช้เปิดตู้เอาพัสดุใส่ไว้ในตู้จดหมายของผู้อาศัยห้องนั้นๆ

ขั้นตอน

① เปิดตู้จดหมายเพื่อเอากระดาษที่เขียนรหัส แล้วนำไปรหัสไปกดที่ตู้รับพัสดุหมายเลขนั้น

www.amazon.co.jp/iimono117

② กดเลขรหัสตามปุ่มนั้น กรณีที่กดเลขผิด ให้กดที่ตัว 【C】เพื่อรีเซทเลขแล้วกดรหัสทั้งหมดอีกรอบ

www.nasta.co.jp/product/delivery-box/use.html

③ หมุนตรงที่ไขกุญแจ ไปทางที่เขียนว่า Open ในกรณีที่ยังไม่ปลดล็อคจะต้องใช้กุญแจฉุกเฉินมาไขเพื่อเปิด

www.nasta.co.jp/product/delivery-box/use.html

④ เปิดหยิบของในตู้ออกมาได้ แล้วปิดฝาที่ใส่รหัสลง

www.nasta.co.jp/product/delivery-box/use.html

ตู้ไม่เปิด อาจเป็นเพราะ…

  • ผู้ส่งของตั้งใจจะเซทรหัสหนึ่ง แต่มือดันไปกดโดนปุ่มเลขอื่นโดยไม่ตั้งใจ 

เช่น เขาจะเซทรหัส 3333 แต่นิ้วดันไปกดโดน 3334 เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้ากดเลขเดิมแต่เปิดไม่ออก แนะนำให้ลองปรับเลขใกล้เคียง

  • เลขรหัสถูกแต่ดันใส่ผิดตู้

แนะนำว่าถ้าเปิดไม่ออก ก็อาจจะต้องลองใส่รหัสตู้อื่นดูเผื่อในกรณีที่เขาเขียนหมายเลขตู้รับพัสดุผิด

  • ทำอย่างไรก็เปิดไม่ได้

เหลือหนทางสุดท้ายก็คือจะต้องติดต่อบริษัทที่ดูแลห้อง/คนที่ดูแลตึก ให้เขานำแม่กุญแจมาไขเปิดตู้ให้ ซึ่งวิธีนี้อาจจะต้องใช้เวลา 2-3 วันก็เป็นได้

 

Related post

  1. เรื่องพื้นๆ Cushion Floor vs. Floor…

  2. เรื่องน่ารู้ในการใช้ไฟฟ้าในญี่ปุ่น

  3. ปุ่มบนฝารองนั่งอัตโนมัติกดไปแล้วจะเ…

  4. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเสื่อทาทามิ 

  5. 5 เคล็ดลับจัดห้องอย่างไรให้ดูกว้างข…

  6. รีโมทแอร์ในห้องที่ญี่ปุ่น

  7. laundry

    เครื่องซักผ้าญี่ปุ่นใช้อย่างไร?

  8. เตาแก๊ส กับ เตา IH ต่างกันอย่างไร?

FEATURED POSTS

NEW POSTS

  1. 10 หาดยอดฮิต
  2. Condo for sale in Kanamachi
  3. Katsushika: Tokyo's Green Oasis