1)ชาวต่างชาติสามารถซื้อบ้านที่ญี่ปุ่นโดยการขอสินเชื่อได้หรือไม่
-สามารถขอสินเชื่อได้ แต่จำเป็นต้องมีรายได้ที่มั่นคงและแน่นอนในประเทศญี่ปุ่น และมีสิทธิ์การอยู่อาศัยถาวร(永住権) หรือสิทธิ์ในการพำนักในญี่ปุ่น (在留資格)
2)มีเงื่อนไขอื่นอีกไหม
-เงื่อนไขอื่นจะแตกต่างไปตามธนาคาร ก่อนอื่นทางเราจะขอสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทางการเงินของลูกค้า เพื่อนำไปประกอบในการแนะนำสถาบันทางการเงินที่เหมาะสมกับท่านที่สุด สามารถสอบถามมาเพื่อปรึกษาก่อนได้
3)ข้อจำกัดทางอายุ
- ธนาคารทั่วไปส่วนมากจะจำกัดอายุให้ชำระหนี้และประกอบธุรกรรมทางการเงินให้เสร็จสิ้นภายในอายุ 80 ปี
4)สามารถขอกู้เงินได้เท่าไหร่
-โดยทั่วไปธนาคารจะกำหนดวงเงินกู้ที่ต้องชำระทุกเดือนไว้ไม่เกิน 35% ของรายได้ประจำ
5)ต้องมีคนค้ำประกันไหม
-สำหรับธนาคารส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้บางสถาบันการเงินอาจบังคับให้ใช้บริการของบริษัทค้ำประกันแทน
6)จำเป็นต้องวางเงินดาวน์ไหม
-สามารถยื่นขอสินเชื่อได้สูงสุดถึง 100% แต่ตอนที่ซื้ออาจมีค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติม แนะนำให้เตรียมเงินเพื่อชำระค่าใช้จ่ายอื่น ๆไว้ที่ 5-7%ของราคาอสังหาฯที่ซื้อ
7)อัตราดอกเบี้ยประมาณเท่าไหร่
- (ปัจจุบัน/พฤษภาคม ปี2020) อัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นต่ำเป็นอย่างมาก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวอยู่ที่ 0.475% ขึ้นไป และอัตราดอกเบี้ยคงที่ 35 ปีจะอยู่ที่ 1.15% ขึ้นไป
8)ถ้าอย่างนั้นแล้วจะต้องจ่ายจริงเท่าไหร่
-(ปัจจุบัน/พฤษภาคม ปี2020) สมมติกรณีที่กู้เงิน 30,000,000 เยนเป็นระยะเวลา 35 ปี
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว 0.475%→78,000 เยนต่อเดือน
อัตราดอกเบี้ยคงที่ 35 ปี 1.15%→87,000 เยนต่อเดือน
9)อยากจะปรึกษาเรื่องการกู้ซื้อบ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง
เพียงแจ้งข้อมูลตามด้านล่างนี้ ทางเราจะพิจารณาประกอบกับข้อมูลของแต่ละสถาบันการเงินให้
・ประเภทของสิทธิ์ในการอยู่ญี่ปุ่น
・วันเดือนปีที่เดินทางมาอยู่ญี่ปุ่น
・กำหนดอายุของวีซ่า
・สถานที่ทำงาน จำนวนปีที่ทำงาน และรายได้ต่อปี
・โครงสร้างของครอบครัว
・ข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ปัจจุบัน
・ข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าปัจจุบัน (สินเชื่อรถยนต์และอื่นๆ)
10)ได้ยินมาว่าถ้าขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะต้องทำประกันชีวิตด้วย จริงหรือไม่
- ผู้กู้จะต้องทำประกันภัยที่เรียกว่า Group Credit Life Insurance หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า「団体信用生命保険」 เผื่อในกรณีที่ผู้ถือครองอสังหาฯนั้นเสียชีวิตไป ประกันจะคืนส่วนของเงินกู้ที่ชำระแล้วคืนมาให้ คนในครอบครัวที่เหลือก็จะได้ไม่ต้องกังวล สำหรับธนาคารขนาดใหญ่อย่าง SMBC และ MUFG/三菱UFJ จะบังคับให้ทำประกันประเภทนี้ โดยธนาคารจะรวมค่าประกันนี้เข้าไปในยอดเงินกู้อยู่แล้ว แต่สำหรับธนาคารที่สามารถเลือกการสมัครประกันได้ตามความสมัครใจนั้น ผู้กู้จะต้องรับผิดชอบค่าประกันเองโดยอาจจะถูกบวกเพิ่มเข้าไปในดอกเบี้ย ในปัจจุบันการทำประกันไม่ได้ครอบคลุมแค่ตอนที่เสียชีวิตเท่านั้น แต่ยังสามารถเลือกตัวเลือกอื่นๆเพิ่มเผื่อในกรณีที่เงินกู้อาจสูญเปล่า อย่างเวลาที่ผู้กู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งหรือโรคพิเศษอื่นๆได้อีกด้วย