fbpx

ตามติดชีวิตคนไทยในญี่ปุ่น สายงาน Tech EP.1 

“Pay–pay!” เสียงที่มักได้ยินตามร้านสะดวกซื้อและร้านค้าต่าง ๆ เวลาจ่ายเงินที่ญี่ปุ่น ถ้าพูดถึง Prompt-pay  ที่ประเทศไทยแล้ว ที่ญี่ปุ่นก็มีวิธีการชำระเงินโดยสแกน QR code เช่นกัน แพลตฟอร์มที่ฮิตที่สุดในตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้นแอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า PayPay ช่วยให้การจ่ายเงินแบบ Cashless สะดวกและเป็นที่นิยมอย่างมาก 

LandHousing ได้มีโอกาสพูดคุยกับพนักงานคนไทยที่ได้มีส่วนในการพัฒนาระบบนี้อีกด้วย วันนี้เราจะพาทุกท่านมาฟังมุมมองจากคนในสายงานนี้และได้หาที่พักกับ LandHousing ก่อนเดินทางมาทำงานที่ญี่ปุ่น ‘คุณพี’ หนึ่งใน App Platform Team 

(อ้างอิงจาก Tech Talks vol.23 – App Platform Team)

จุดเริ่มต้นความสนใจในสายงานด้าน Tech 

คุณพีบอกเล่าว่า เริ่มมาจากตอนสมัยมัธยมฯ ที่มีโอกาสได้เข้าร่วม สอวน. (โครงการคัดเลือกนักเรียนเข้าอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ ) คอมฯ แต่หลังจากนั้นก็เลือกเรียน วิศวกรรม สาขาเคมีมา จากนั้นคุณพีก็เริ่มเก็บตัวฝึกเขียนโปรแกรมเอง ต่อมาจึงได้มางานเป็น Android App Developer ในสายงานเกี่ยวกับ Payment ที่ไทย 

ความท้าทายในสายงานนี้ 

คุณพีเปรียบเทียบเรื่องการเขียนโปรแกรมว่า ใช้ทั้งการแสวงหาและพรสวรรค์ ที่บอกว่า กึ่ง ๆ เป็นพรสวรรค์ เพราะว่าใครที่ทำได้ก็มีโอกาสไปไกลเลยทีเดียว 

พูดถึงงานปัจจุบันและตำแหน่ง

Kotlin Multiplatform Mobile Engineer ที่ PayPay คุณพีช่วยขยายความให้เข้าใจง่ายเกี่ยวงานว่า ในบริษัทต้องทำระบบที่รองรับทั้ง Android กับ iOS แต่ทีมของคุณพีรับหน้าที่เขียนโค้ดบางส่วนที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองระบบ

ทำไมถึงเลือกที่จะมาทำงานและอยู่ในญี่ปุ่นกัน

คุณพีแยกออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ๆ ปัจจัยแรกคือ ส่วนตัวมีเพื่อนโปรแกรมเมอร์คนไทยที่เคยทำงานด้วยกันและย้ายมาอยู่ที่นี่ ส่วนอีกเหตุผลคือ สายเทคฯ หรือโปรเกรมเมอร์จะมีการสัมภาษณ์อยู่ 2 แบบด้วยกัน แบบแรกที่รู้จักกันในนาม Big Tech อย่าง Google, Facebook เขามักจะนิยมทดสอบผู้สมัครในเชิง Academic (วิชาการ) เหมือนตอนเรียนอย่างเช่น การฝึกทำ Algorithm แต่สำหรับที่ Paypay จะเป็นอีกแบบที่เรียกว่า Project-based นึกภาพตามง่าย ๆ คือ การสอบเหมือนตอนทำงานจริง

ขอแอบถามว่า อันนี้สอบเหมือนบริษัทที่ไทยไหม ( เท่าที่คุณพีมีประสบการณ์มา)

คุณพียกตัวอย่างมาว่า “เอาจริง ๆ ถ้าจะมีที่เข้มขนาดนี้ก็น่าจะเป็น Agoda, LineMan, Wongnai ครับ”

“เข้ม” ในที่นี่ขยายความว่า อาจจะมีทั้ง 2 แนวการสัมฯ อย่างที่พูดไปข้างต้น อย่าง Agoda ก็จะมีทั้ง Algorithm และ Project-based บางทีอาจจะมีแค่ Project-based  บางที Algorithm อย่างเดียวขึ้นกับทีมที่ทำด้วย

อยากให้แชร์ Environment ในการทำงานที่ญี่ปุ่นเป็นอย่างไรบ้าง

PayPay มีความ International มาก จึงทำให้คุณพีไม่ได้รู้สึกต่างจากการทำที่ไทยสักเท่าไหร่ ในโซน  Dev ( ‘Developer’ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า เดฟ) มีพนักงาน Non-Japanese อยู่สักประมาณ 40-50% ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก และในที่ประชุมของบริษัทก็จะมีล่ามที่ต้องจองตัวมาเพื่อช่วยแปลเวลาประชุมด้วย

จุดที่ชอบและไม่ชอบในการทำงานที่ต่างประเทศอย่างญี่ปุ่น

คุณพีถึงกับบอกว่า “ปัจจุบันชอบมาก เพราะเป็น 100% Work from home ไม่ต้องเดินทาง นาน ๆ เข้าออฟฟิศที และทีมยังให้อิสระในการให้งานอย่างแท้จริง ที่นี่ Open-to-idea จริง ๆ จากประสบการณ์ทำงาน 10 ปี คือมีอะไรก็สามารถเสนอได้ ทีมเล็ก ๆ 5 คน นึกอะไรออกก็สามารถแสดงอออกมาได้ แล้วเริ่มทำเป็นคอนเซปต์แล้วถ้าเวิคก็จัด”

จากจุดนี้ คุณพีก็ได้แชร์ประสบการณ์จากตอนทำงานที่ไทยอีกมุมว่า

“ซึ่งจากประสบการณ์ที่ไทย ที่บอกว่า Open เปิดรับความคิดเห็นแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้เปิดรับจริง ๆ มีแค่บางทีมเท่านั้น บางครั้งทำเสร็จแล้วก็อาจจะโดนปัดตกไปก็มี”

มีจุดปรับตัว สำหรับคนที่ไม่เคยมาญี่ปุ่นก่อนบ้างไหม ? 

อันนี้ในมุมกลาง ๆ คุณพีมองว่า ในที่ทำงานก็อาจมีบุคลิกของคนบางประเภทที่ต้องปรับตัวเข้าหากันบ้าง 

แล้วถ้าพูดถึงในการของการใช้ชีวิตที่นี่

เพราะว่าคุณพีไม่สามารถสื่อสารถภาษาญี่ปุ่นได้เลย จุดที่อึดอัดที่พบเจอคือ การที่คนส่วนใหญ่อาจจะฟังภาษาอังกฤษได้บ้าง แต่ตอบกลับมาเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งทำให้สื่อสารไม่รู้เรื่องต้องพึ่งภาษามือบ้าง พึ่ง Translation บ้าง 

มาดูข้อดีหรือสิ่งที่ชอบในญี่ปุ่นกันบ้าง 

“อู้หูว Amazon Prime เลยครับ ส่งของไว บางทีสั่ง Groceries สั่งตอน 8-9 โมง บ่าย 2 โมงของมาส่งแล้ว และก็อากาศดีมาก และเงียบ” เมื่อขอให้ขยายความคำว่า “เงียบ” ตามแบบฉบับของคุณพี ก็คือ การเดินตามท้องถนนไม่ได้เหมือนไทยที่มี Noise ตลอด ทำให้ตอนนี้คุณพีนึกไม่ออกแล้วว่าที่ไทยมี Noise อย่างไรบ้าง 

คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตแบบนี้หรือยัง

(เนื่องจากทำงานที่บ้านตลอด) คุณพีจึงไม่ค่อยได้ออกไปไหน แต่ในไลฟ์สไตล์ก็มีความ Introvert เป็นสไตล์ที่คุณพีชอบ 

เมื่อถามถึงสิ่งที่คุณพีต้องปรับตัวหลังจากมาอยู่ที่ญี่ปุ่น 

สิ่งที่เจอแล้วรู้สึกกระอักกระอ่วนก็คือการที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ ช่วงมาแรก ๆ ที่มาถึงคุณพีเลือกจะทานร้านที่มีภาษาอังกฤษอย่าง พวก Sukiya (ปัจจุบันร้านอาหารแบบนี้จะใช้วิธีการกดสั่งอาหารผ่านแท็บเลต/ตู้ขายตั๋วอัตโนมัติ แทบไม่ต้องคุยกับพนักงานเลย)

ปรับมาโหมดจริงจังกันบ้าง มองอนาคตในสายงานนี้อย่างไร

“สายงานนี้ถ้าเรามองในภาพระดับโลกแล้ว บางส่วนมันเกิดจากการจ้างงานที่เยอะเกิน หรือบางคนอาจจะทำงานไม่ได้จริง อาจจะมีส่วนนึงที่ถูก lay-off แต่อย่างบางบริษัทอย่าง PayPay ก็ยังรับคนนะครับ

มีสาย Manager และ Individual Contributor ก็คือไม่ต้องเป็น Manager ก็เติบโตในสายงานนี้ได้ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท ถ้าเทียบกับที่ไทยก็อาจจะมีแค่บางบริษัทที่อนุญาตให้คุณโตในสายเทคฯ ได้ นอกนั้นคุณอาจจะต้องเลื่อนไปเป็น Manager” 

หากตัดภาพมามุมมองต่อสายงานนี้ในไทย คุณพีให้ความเห็นว่า

“ในไทยเหมือนก็ยังรับคนในสายงานเทคโนโลยีกันอยู่เรื่อย ๆ Tradition ก็ยังมีคนที่ทำงานได้ และทำงานไม่ได้ ตอนนี้หลาย ๆ แห่งยังคงรับคนอยู่ แต่อนาคตอันใกล้ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเริ่มรู้กันแล้วว่า ใครทำงานได้หรือไม่”

แล้วถ้าเป็นระดับ Global 

“ก็ยังไม่ต้องแพนิคไป เพราะถ้าคุณมีสกิลจริงไม่ต้องกลัว”

สุดท้ายให้คุณพีฝากอะไรกับ คนที่อยากมาทำงานสายเทคในญี่ปุ่น

ถ้าอยากทำในญี่ปุ่น ก็จะต้องมีการสปอนเซอร์วีซ่า (การดำเนินเรื่องวีซ่า) ใช่ไหมครับ ซึ่งก็จะมีแต่บริษัทใหญ่ ๆ ซึ่งก็อาจจะสอบโหดหน่อย เพราะฉะนั้นก็ควรเช็คว่าบริษัทนั้นสัมภาษณ์แบบไหน และเตรียมตัวสัมภาษณ์เพื่อบริษัทนั้นเลย และไหน ๆ ที่อยากจะมาทำที่ญี่ปุ่นแล้ว ก็แนะนำให้สมัครไปหลาย ๆ ที่ และถ้าเขาเรียกสัมภาษณ์ก็พยายามไปสัมภาษณ์ให้หมดครับ

สุดท้ายนี้คุณพียังฝากลิ้งค์ของทีมมาให้ได้ชมสไตล์การทำงานของที่นี่อีกด้วย 

สำหรับท่านที่สนใจการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นสามารถคลิกที่นี่เพื่ออ่านบทความในสายงานอื่นได้เช่นกันค่ะ ในครั้งหน้าเราจะได้ไปพูดคุยกับ Dev หรือคนในสายงานไหนกันอีกก็อย่าลืมติดตามพวกเราด้วยนะคะ 

Related post

  1. 【ประสบการณ์】การปรับตัวในญี่ปุ่น

  2. 7 สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อทิ้งขยะที่ญี่…

  3. แนะนำย่าน America Mura และร้านเด็ดท…

  4. แชร์เฮ้าส์ ห้องพักราคาถูกในญี่ปุ่น

  5. ทำความสะอาดบ้านให้กริ๊บ!ด้วยเทคนิคจ…

  6. 10 ประโยคอวยพรปีใหม่ภาษาญี่ปุ่น

  7. โตเกียวปี2020 กับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก…

  8. กิจกรรมตอบแทนสังคม