fbpx

เบอร์โทรฉุกเฉินที่ควรรู้เมื่ออยู่ญี่ปุ่น

การดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดย่อมมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ ตอนอยู่ประเทศไทย พวกเราจะนึกถึงเบอร์ 191 สำหรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 1669 สำหรับกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงประเทศญี่ปุ่นกัน

เมื่อเราไปใช้ชีวิตในญี่ปุ่น การเตรียมพร้อมรับเมื่อกับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ในบทความนี้จะอธิบายว่า เราควรจะรู้จักเบอร์โทรฉุกเฉินอะไรบ้าง แต่ละเบอร์โทรไว้ใช้กับสถานการณ์ไหน มาอ่านกันเลย!

[1] การแจ้งเหตุฉุกเฉิน

1.1 แจ้งตำรวจ โทร 110
สายด่วนแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายสำหรับติดต่อกับตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาดำเนินการเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมต่างๆ เบอร์นี้จึงถือเป็นเบอร์ที่สำคัญมากๆ ทุกคนต้อง/ควรรู้ นอกจากนี้การแจ้งเหตุอาชญากรรมยังสามารถแจ้งได้ที่เบอร์ป้อมตำรวจอีกด้วย ซึ่งจะกล่าวในลำดับถัดไป

1.2 เรียกรถดับเพลิงหรือรถพยาบาล โทร 119
สายด่วนสำหรับติดต่อหน่วยดับเพลิงเพื่อแจ้งเหตุไฟไหม้ ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุก็สามารถโทรเบอร์นี้เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ และเรียกรถพยาบาลได้อีกด้วย ทั้งนี้ 119 เป็นเบอร์โทรศัพท์สายตรงที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายทั่วประเทศ (โทรจากเครือข่ายไหนก็ได้ ระบบใดก็ได้)

เบอร์โทรติดต่อเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแพทย์
03-5285-8181 : สอบถามข้อมูลทางการแพทย์ญี่ปุ่น (Tokyo Metropolitan Health and Medical Information Center)
03-5285-8185 : ล่ามทางการแพทย์ฉุกเฉิน (Health and Medical Emergency Translation Services)

1.3 แจ้งหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล โทร 118
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางทะเล สามารถใช้เบอร์โทรนี้สำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉินได้ และยังใช้ในกรณีที่พบเรือต้องสงสัยได้อีกด้วย

1.4 แจ้งเหตุภัยพิบัติ โทร 171
เมื่อเกิดภัยพิบัติรุนแรง แล้วติดต่อลำบาก ก็สามารถใช้เบอร์โทรนี้เพื่อฝากข้อความฉุกเฉินได้ เพื่อให้ญาติหรือคนรู้จักรับฟังข้อความจากเสียงที่บันทึกไว้ สามารถบันทึกเสียงได้เพียง 30 วินาทีเท่านั้น ควรแจ้งสถานการณ์และตำแหน่งที่ตัวเองอยู่

เบอร์แจ้งเหตุฉุกเฉินเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น 110 119 118 171 ก็ถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง หลังจากที่โทรแล้วควรบอกสถานการณ์ให้ชัดเจน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแจ้งที่อยู่ หากไม่มีเหตุด่วนเหตุร้ายจริงๆ ไม่ควรโทรไปรบกวนเจ้าหน้าที่

[2] กรณีสัมภาระหาย

2.1 ติดต่อศูนย์ประสานงานของหาย
กรณีทำของสูญหายในระหว่างการเดินทาง สามารถติดต่อศูนย์ประสานงานของหาย (Lost&Found) ของหน่วยงานขนส่งสาธารณะได้ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟหรือแท็กซี่ก็ตาม ดังนี้
JR (รถไฟเครือเจอาร์) : 050-2016-1601
Tokyo Metro (รถไฟใต้ดิน) : 03-3834-5577
TOEI (รถบัส/รถไฟใต้ดิน) : 03-3812-2011
แท็กซี่ (ในโตเกียว) : 03-3648-0300

2.2 ติดต่อตำรวจ
ในที่นี้ไม่ใช่การติดต่อเบอร์ 110 แต่อย่างใด เพราะหากไม่ใช่การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย ไม่ควรโทรเด็ดขาด
การติดต่อตำรวจในกรณีสิ่งของสูญหายนั้น สามารถติดต่อศูนย์ของหายกรมตำรวจได้ โทร 03-3814-4151 กรณีนี้จะต่างจากการติดต่อหน่วยงานขนส่งสาธารณะ เพราะเป็นกรณีที่ทำของหายตามท้องถนน หรือไม่ทราบสถานที่ที่ทำหายอย่างแน่ชัด

อีกช่องทางหนึ่งสำหรับติดต่อตำรวจคือ ป้อมตำรวจท้องที่ในญี่ปุ่นจะมี “KOUBAN” เป็นป้อมตำรวจขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ตำหัวมุมถนนต่างๆ นอกจากจะติดตามของหายได้แล้ว ยังให้ความช่วยเหลือได้ในหลายๆ เรื่อง เช่น ถามทาง สอบถามเกี่ยวกับการจราจร แจ้งเหตุอาชญากรรม เป็นต้น เบอร์โทรศัพท์ของสถานีตำรวจท้องถิ่นมีดังนี้
• สถานีตำรวจคาวาบาตะ : 075-771-0110
• สถานีตำรวจคามิเงียว : 075-465-0110
• สถานีตำรวจฮิงะชิยามะ : 075-525-0110
• สถานีตำรวจโฮริกาว่า : 075-823-0110
• สถานีตำรวจชิโมะเงียว : 075-352-0110
• สถานีตำรวจชิโมงะโมะ : 075-703-0110
• สถานีตำรวจฟุชิมิ : 075-602-0110
• สถานีตำรวจยามาชินะ : 075-575-0110
• สถานีตำรวจอุเคียว : 075-865-0110
• สถานีตำรวจมินามิ : 075-682-0110
• สถานีตำรวจคิตะ : 075-493-0110
• สถานีตำรวจนิชิเคียว : 075-391-0110

[3] การติดต่อกับสถานทูต

ควรติดต่อกับสถานทูตในกรณีที่เป็นเหตุจำเป็นเร่งด่วน เช่น คนไทยประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต หนังสือเดินทางหายหรือถูกขโมย ถูกตำรวจจับที่ญี่ปุ่น

หากหนังสือเดินทางหาย ควรติดต่อสถานทูตเพื่อสอบถามเรื่องเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการทำหนังสือเดินทางชั่วคราว และเตรียมสำเนาเอกสารยืนยันตัวบุคคลของไทย เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของไทย สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาหนังสือเดินทางของไทย สามารถติดต่อสถานทูตได้ด้วยหมายเลยโทรศัพท์ดังนี้
• สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
03-5789-2433
• สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
06-6262-9226 , 06-6262-9227 (เวลารับโทรศัพท์ 15.30 – 17.30 น.)
• สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ
092-739-9088
092-739-9090 (ฝ่ายกงสุล: เปิดรับสายเพื่อให้ข้อมูลด้านกงสุลระหว่างเวลา 15.30 – 17.30 น. ในวันและเวลาราชการ)

Related post

  1. Shibuya Tokyo

    5 ย่านน่าอยู่ที่สุดในญี่ปุ่นปี 2019…

  2. ขึ้นรถไฟญี่ปุ่นในชั่วโมงเร่งด่วนอย่…

  3. แนะนำย่าน America Mura และร้านเด็ดท…

  4. 5 เคล็ดลับในการเรียนภาษาญี่ปุ่น

  5. “Hokkaido” snowy wonder…

  6. 3 ลานสกีแนะนำในช่วงหน้าหนาวของญี่ปุ…

  7. การลงทะเบียนย้ายเข้าเขตที่ญี่ปุ่น

  8. 3 กิจกรรมหน้าหนาวของชาวญี่ปุ่น