fbpx

วอชเล็ต : ชักโครกมหัศจรรย์แห่งญี่ปุ่น

หลายๆ คนคงได้ยินมาว่าห้องน้ำในญี่ปุ่นสะอาดมาก แถมยังมีเทคโนโลยีล้ำยุคที่ทำให้การนั่งบนโถชักโครกสบายขึ้นอีกด้วย ซึ่งเรียกกันว่า “วอชเล็ต (Washlet)” นั่นเอง วันนี้เราจะมาดูว่าวอชเล็ตมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง รวมถึงวิธีใช้งานและวิธีทำความสะอาดด้วยนะ เอาละ มาอ่านกันเลย!

ที่มาของคำว่า “วอชเล็ต”

“วอชเล็ต” เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ของชักโครกที่ชำระล้างด้วยน้ำอุ่น วางจำหน่ายโดยบริษัท TOTO เปิดตัวในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2523 มียอดขายสะสมทะลุ 30 ล้านหน่วยในเดือนมกราคม 2554 ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงในสินค้าจำพวกชักโครกที่ชำระล้างด้วยน้ำอุ่น แม้ว่าชื่อ “วอชเล็ต” จะเป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ TOTO แต่ผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันที่ผลิตโดยบริษัทอื่นๆ ก็ถูกเรียกว่าวอชเล็ตด้วย

ความเป็นมา

ในช่วงทศวรรษที่ 1960 TOTO ได้นำเข้าwash air seats จากอเมริกาเพื่อการ0จำหน่ายภายในประเทศ ส่วนใหญ่ขายให้กับโรงพยาบาลเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสถานพยาบาล ต่อมา TOTO เริ่มผลิตในประเทศเมื่อปี 1969 แต่ wash air seats มีราคาแพงและบางครั้งก็ทำให้เกิดแผลน้ำร้อนลวกเนื่องจากการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่ดี

TOTO ยังคงวิจัยและพัฒนาต่อไป โดยทำการสำรวจพนักงานชายและหญิง 300 คน เพื่อกำหนดตำแหน่งสเปรย์ที่เหมาะสม  

ในปี 1980 TOTO เริ่มขายวอชเล็ตที่ปรับปรุงแล้ว มีสองรุ่นคือ G series (“Gorgeous”) สามารถกักเก็บน้ำอุ่น มีหัวฉีดน้ำ ฟังก์ชั่นเครื่องเป่า และฟังก์ชั่นทำให้ที่นั่งอุ่น (เรียกว่า “warmlet”) และ S series (“Standard)” เปลี่ยนน้ำเย็นเป็นน้ำอุ่นทันที ติดตั้งหัวฉีดน้ำและฟังก์ชั่น warmlet ทั้งสองรุ่นยังคงเป็นรุ่นพื้นฐานของผลิตภัณฑ์มาจนถึงตอนนี้

ในปี 2012 โมเดลเริ่มต้น Washlet G ได้รับการรับรองว่าเป็นมรดกทางวิศวกรรมเครื่องกลหมายเลข 55

ในเวลาต่อมา TOTO ได้เปิดตัวเซ็นเซอร์ที่ตรวจว่าผู้ใช้นั่งอยู่หรือไม่ (วอชเล็ตรุ่นก่อนหน้าเปิดใช้งานตลอดเวลา ไม่ว่าผู้ใช้จะนั่งอยู่หรือไม่ก็ตาม) TOTO ได้เพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ๆ ประกอบด้วยฝาชักโครกที่เปิดและปิดโดยอัตโนมัติ ฟังก์ชั่นทำความสะอาดห้องน้ำ ดับกลิ่น ดูดซับก๊าซ และปรับอากาศ นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวห้องน้ำสำเร็จรูปที่มาพร้อมกับวอชเล็ตอีกด้วย และมีการพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์วอชเล็ตของ TOTO ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในสถานที่สาธารณะ สำนักงานธุรกิจ และโรงแรม

TOTO ได้ทำการปรับปรุงอื่น ๆ อีกมากมาย เช่นการเพิ่ม “โหมดสลีป” (Sleep mode) เพื่ออนุรักษ์พลังงาน รีโมตคอนโทรลที่เอาไปติดกับผนังได้ และในเดือนตุลาคมปี 2005 TOTO เปิดตัววอชเล็ตที่สามารถเล่นไฟล์เสียง MP3 ได้

วิธีการใช้งาน

  1. นั่งลงบนชักโครก แล้วถ่ายอุจจาระ
  2. หลังขับถ่ายเสร็จแล้ว ให้ตรวจสอบ “แรงดันน้ำ (水勢)” บนแผงการทำงาน แล้วตั้งค่าเป็น “เบาที่สุด (最弱)”
  3. กดปุ่ม “ทวารหนัก (おしり)” เมื่อน้ำอุ่นออกมาให้ปรับแรงดันน้ำตามที่ต้องการ
  4. กดปุ่น “เคลื่อน (ムーブ)” เพื่อล้างบริเวรรอบๆ ทวารหนักได้ตามต้องการ
  5. หากใช้งานประมาณ 10 วินาทีแล้ว ให้หยุด เพราะถ้าใช้งานนานเกินไปอาจส่งผลเสียต่อผิว
  6. แปะกระดาษชำระเบาๆ เพื่อซับน้ำออก อย่าถูแรงเกินความจำเป็น
  7. ลุกจากชักโครก แล้วเช็ดหยดน้ำตรงด้านหลังที่นั่งชักโครกออก

วิธีทำความสะอาด

แม้ว่าวอชเล็ตจะมีฟังก์ชั่นทำความสะอาดอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่หากไม่ทำความสะอาดก็จะมีคราบสกปรกติดกับโถชักโครก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าแรงดันของน้ำอุ่น ถูกตั้งไว้ที่ “แรง (強)” จะทำให้มีคราบอุจจาระติดได้มากขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ดูแล จะมีเชื้อราและแบคทีเรียอื่น ๆ แพร่กระจายเนื่องจากความชื้น เราจึงแนะนำให้ทำความสะอาดเดือนละครั้ง

  1. ดึงหัวฉีดออกมาก่อน จะกดปุ่มหรือใช้มือดึงออกมาก็ได้
  2. ทำความสะอาดหัวฉีดโดยใช้เพียงแค่แผ่นทำความสะอาด ถ้ายังขจัดคราบไม่หมด ให้ใช้น้ำยาล้างห้องน้ำราดลงไปที่หัวฉีด แล้วใช้แปรงขัดให้ทั่ว

3. เช็ดแผงควบคุมบนที่นั่งชักโครกหรือบนรีโมตคอนโทรลด้วยแผ่นทำความสะอาด

4. ทำความสะอาดตัวกรองกำจัดกลิ่น ซึ่งอยู่ที่ด้านหลังของที่นั่งชักโครก ดึงมันออกมาแล้วกำจัดฝุ่นออกให้เรียบร้อย

5. เช็ดระหว่างที่นั่งกับตัวเครื่อง เพราะมักจะมีคราบปัสสาวะตกค้างอยู่

6. ทำความสะอาดตัวชักโครกให้ทั่วๆ

หลังจากที่ทำความสะอาดหัวฉีดแล้ว ควรทำความสะอาดช่องเก็บหัวฉีด 1-2 ครั้งต่อปี หมั่นเช็คตรงปุ่มกดเป็นประจำ เพราะเป็นส่วนที่เราสัมผัสมากที่สุด เนื่องจากวอชเล็ตเป็นอุปกรณ์ที่สะดวกสบาย เราจึงควรดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอเพื่อการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น

อ้างอิง

https://ja.wikipedia.org/wiki/ウォシュレット

https://www.o-uccino.jp/article/posts/17790

https://cojicaji.jp/cleaning/toilet/11

Related post

  1. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเสื่อทาทามิ 

  2. เตาแก๊ส กับ เตา IH ต่างกันอย่างไร?

  3. เรื่องน่ารู้ในการใช้ไฟฟ้าในญี่ปุ่น

  4. รีโมทแอร์ในห้องที่ญี่ปุ่น

  5. laundry

    เครื่องซักผ้าญี่ปุ่นใช้อย่างไร?

  6. เรื่องพื้นๆ Cushion Floor vs. Floor…

  7. apartment room1

    5 สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องที่ญี่ปุ่…

  8. 5 เคล็ดลับจัดห้องอย่างไรให้ดูกว้างข…