fbpx

รู้จักกับการลงทุนธุรกิจที่พักชั่วคราวในญี่ปุ่น

 1.คำว่า “ที่พักชั่วคราว” หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 「民泊」(Mimpaku) คืออะไร

ในไทยหลายท่านอาจคุ้นหูกับ “Airbnb” กันอย่างดี แต่สำหรับที่ญี่ปุ่นแล้วจะเรียก สถานที่ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดที่ปล่อยเช่าให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อเข้าพักชั่วคราวว่า 「民泊」(Mimpaku) หรือที่แปลว่า ที่พักชั่วคราว นั่นเอง โดยสามารถเข้าพักได้ตั้งแต่ 1 คืนขึ้นไป จึงมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับโรงแรมมากกว่าที่พักประเภท Monthly Mansion ที่จะปล่อยเช่าตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป

  2.ญี่ปุ่นที่รายล้อมไปด้วย “ที่พักชั่วคราว”

ในปี 2003 รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำร่องแคมเปญอย่าง Visit Japan โดยตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวสูงถึง 10 ล้านคนต่อปี โดยในปีที่ริเริ่มนั้นมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่อปีอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านคนเท่านั้น แต่ต่อมาในปี 2019 กลับมีนักท่องเที่ยวสูงถึง 31,882,000 คน หรือขยายตัวเป็น 6 เท่าเลยทีเดียว อย่างที่หลายท่านที่ชอบประเทศญี่ปุ่นทราบกันดีว่าเหตุใดญี่ปุ่นจึงได้รับความนิยมอย่างท่วมท้น ทั้งในแง่ของวัฒนธรรม อาหารการกิน ไปจนสาธราณูปโภคพื้นฐานและการคมนาคมที่ล้วนส่งเสริมให้ญี่ปุ่นกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากทั่วโลก

ในทางตรงกันข้าม ญี่ปุ่นกลับเผชิญปัญหาเรื้อรัง อย่างการที่จำนวนโรงแรมไม่พอต่อความต้องการในตอนนั้น ในปี 2014 Airbnb ได้ขยายตลาดเข้าในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดธุรกิจที่พักรายวันแบบใหม่แพร่หลายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น จากนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่พักไม่เพียงพอนี้ และได้กำหนดการใช้ “ที่พักชั่วคราว” ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหากฎหมายให้เหมาะสมเสร็จสิ้นในปี 2018

Shibuya Tokyo

credit: https://www.flickr.com/photos/yoshikazut/30562491713

  3.ข้อดีของการลงทุนใน “ธุรกิจที่พักชั่วคราว”

โดยทั่วไป ยิ่งระยะเวลาการเช่าสั้นลง ค่าเช่าต่อวันก็จะสูงขึ้นตามลำดับ ดังนั้นการปล่อยเช่าเป็น “ที่พักชั่วคราว” นั้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปล่อยเช่ารายเดือนทั่วไป ถึงแม้จะเป็นอาคารเดียวกันก็ตาม จึงทำให้ผู้ลงทุนในที่พักชั่วคราวมักคาดหวังกับผลตอบแทนที่สูงกว่าที่พักประเภทอื่นได้

【กรณีตัวอย่าง】

ประเภท ค่าเช่าต่อเดือน ค่าเช่าต่อคืน
โรงแรมต่างๆ 8,000 เยน
Monthly Mansion หรือแมนชั่นรายเดือน 90,000 เยน 3,000 เยน
ที่พักปล่อยเช่าทั่วไป (สัญญา 2 ปี) 70,000 เยน 2,300 เยน

 

 3. ข้อควรระวังของการลงทุนใน “ธุรกิจที่พักชั่วคราว”

ถึงจะมีข้อดีในด้านกำไรที่สูง แต่ก็มี 3 จุดหลักที่ผู้ลงทุนควรทราบและระวัง

  • การลงทุนประเภทนี้ต้องได้รับการอนุญาต (มีใบอนุญาตประกอบกิจการ)
  • ถ้าเปรียบเทียบกับการปล่อยเช่าทั่วไปที่มีสัญญา 2 ปี รายได้ที่ได้รับอาจมีความมั่นคงน้อยกว่า
  • จำเป็นจะต้องดูแลจัดการเป็นรายวัน เช่น การทำความสะอาด การเปลี่ยนเครื่องนอน เป็นต้น

อย่างที่ทราบกันว่าการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ที่จะลงทุนลองเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่จะได้รับและความเสี่ยงประกอบการพิจารณาเช่นกัน

  4.ผลกระทบจาก COVID-19

จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านี้ได้ลดลงไปอยู่ที่ 4,110,000 คน โดยลดลงไป 87% เทียบกับตัวเลขในปี 2020 ก่อนหน้านี้ สาเหตุหลักนั้นมากจากไวรัสโคโรนา ซึ่งได้ส่งผลกระทบไปยังธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่พักชั่วคราวเช่นกัน มีหลายแห่งที่ต้องปิดกิจการลงไป รวมทั้งมีเจ้าของที่พักจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับเหตุที่ทำให้ต้องประกาศขายอสังหาฯนั้นๆอย่างเลือกไม่ได้ โดยในอสังหาฯเหล่านั้นก็มีจำนวนไม่น้อยที่นับว่ามีสภาพและทำเลต่างๆดึงดูดขนาดที่ว่า นักลงทุนหลายคนก็ไม่อาจคาดคิดว่าจะปล่อยขายในเงื่อนไขที่น่าสนใจขนาดนี้อีกด้วย

 5.ตอนนี้นับเป็นโอกาสทองได้

ในขณะนี้ที่วัคซีนกำลังแพร่หลายออกไป ทั่วทั้งโลกก็กำลังมุ่งกลับสู่สภาวะเดิมทีละน้อย หากมีการอนุญาตให้เดินทางข้ามประเทศได้ตามปกติแล้ว ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ความต้องการในการเดินทางมาเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นนี้จะกลับมาบูมอีกครั้ง หลังจากที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากต้องอัดอั้นกับการห้ามเดินทางไปต่างประเทศในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา จึงไม่แปลกที่ตอนนี้นักลงทุนจำนวนมากที่มองการณ์ไกลเองก็เริ่มทยอยมองหาอสังหาฯที่เหมาะแก่การเริ่มดำเนินธุรกิจที่พักชั่วคราวอีกครั้ง ตอนนี้จึงอาจเรียกได้ว่า เป็นจังหวะที่เหมาะแก่การลงทุนในรูปแบบธุรกิจที่พักชั่วคราว ที่หาได้ยากและอาจไม่มีโอกาสที่ดีเช่นนี้อีกแล้ว

 6. ความรู้ที่ถูกต้องจำเป็นในการลงทุนในธุรกิจที่พักชั่วคราว

การลงทุนในธุรกิจที่พักชั่วคราวยังถือว่าเป็นความรู้แขนงใหม่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ลงทุนขาดไม่ได้ก็คือ ความรู้ที่ถูกต้องและการทำความเข้าใจในความเสี่ยงต่างๆให้ดีเสียก่อน กรณีที่ดำเนินธุรกิจโดยไม่ขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนหรือมีการฝ่าฝืน ถึงแม้จะเป็นชาวต่างชาติก็จะได้รับโทษเช่นเดียวกัน (บางกรณีอาจถึงขั้นถูกจับกุมได้ทีเดียว)  เนื่องจากธุรกิจที่พักชั่วคราวนี้ได้ถูกบัญญติเป็นข้อกฎหมายไว้แล้ว

       ในครั้งนี้ทาง LandHousing ได้จัดสัมมนาเกี่ยวกับการทำธุรกิจที่พักชั่วคราวขึ้น โดยได้เรียนเชิญ อาจารย์ Togawa ผู้มีความรู้ด้านการขอใบอนุญาตประกอบกิจการและแนวทางในการประกอบธุรกิจที่พักชั่วคราวนี้มาบรรยายใรครั้งนี้ รวมทั้งเราได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่อธิบายภาษาไทยประกอบการบรรยายเช่นกัน ท่านที่สนใจสามารถลงชื่อเข้าร่วมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ งานสัมมนานี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาฟรี

Related post

  1. คนไทยเค้าอยู่ที่ไหนในโตเกียวกันนะ ?…

  2. การขายอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่น

  3. ข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพ…

  4. Banrak อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน…

  5. ซื้ออสังหาฯญี่ปุ่นในช่วงCovid-19ดีห…

  6. 【ซื้อบ้านที่ญี่ปุ่นกัน】เปรียบเทียบเ…

  7. 【ซื้อบ้านที่ญี่ปุ่นกัน】กู้ซื้อบ้านท…

  8. 【ซื้อบ้านที่ญี่ปุ่นกัน】ซื้อแมนชั่นห…