fbpx
ยาห้ามนำเข้าญี่ปุ่น

NEW! ยาต้องห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น

วันนี้ผักชีชวนเพื่อน ๆ มาดูกันว่ายาห้ามนำเข้าในญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง?
ยาห้ามเข้า ญี่ปุ่น แบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 กลุ่มการออกฤทธิ์ของยา โดยมี 11 ชนิด ดังต่อไปนี้
*หมวดยาที่มีสาร Pseudoefedrin บรรเทาอาการปวดลดไข้ คัดจมูก ลดน้ำมูก ลดอาการไอ
1. TYLENOL COLD = บรรเทาอาการปวด ลดไข้
2. NYQUIL = บรรเทาอาการปวด ลดไข้
3. NYQUIL LIQUICAPS = บรรเทาอาการปวด ลดไข้
4. ACTIFED = บรรเทาอาการปวด ลดไข้
5. SUDAFED = บรรเทาอาการปวด ลดไข้ คัดจมูก ลดน้ำมูก
6. ADVIL COLD & SINUS = บรรเทาอาการปวด ลดไข้ คัดจมูก ลดน้ำมูก
7. DRISTAN COLD *NO DROWSINESS (แบบไม่ง่วง) = บรรเทาอาการปวด ลดไข้ คัดจมูก ลดน้ำมูก
8. DRISTAN = บรรเทาอาการปวด ลดไข้ คัดจมูก ลดน้ำมูก
9. DRIXORAL SINUS = บรรเทาอาการปวด ลดไข้ คัดจมูก ลดน้ำมูก
10. VICKS INHALER = บรรเทาอาการคัดจมูก ลดน้ำมูก
*หมวดยาที่ช่วย บรรเทาอาการท้องเสีย ที่มีสาร Atropine และ Diphenoxylate ซึ่งเป็นสารเสพย์ติดให้โทษ
11. LOMOTIL

หากนำเข้าอาจโดนดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งยาในกลุ่มดังกล่าวเป็นยาที่ใช้บำบัด บรรเทารักษาอาการเจ็บป่วยใน 2 กลุ่มอาการ คือ กลุ่มยาบรรเทาอาการหวัด ได้แก่ ยาที่มีชื่อการค้าตามรายการที่ 1-10 เป็นยาที่มีตัวยาสำคัญในการใช้แก้ปวด ลดไข้ บรรเทาอาการไอ คัดจมูก แพ้อากาศ ลดน้ำมูก เป็นต้น โดยยาหลายรายการมีสารซูโดอีเฟดรีน เป็นส่วนผสม ส่วนยาในลำดับที่ 11 ใช้สำหรับบรรเทาอาการท้องเสีย มีสารสำคัญที่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3

ขอบคุณข้อมูลจากสำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ค่าใช้จ่ายรายเดือนในญี่ปุ่น
5เรื่องควรรู้ก่อนใช้ชีวิตในญี่ปุ่น

Related post

  1. タイへのボランティア活動

  2. [Rakuten Realtime Take out] บริการใ…

  3. เบอร์โทรฉุกเฉินที่ควรรู้เมื่ออยู่ญี…

  4. สำรวจเทรนด์อาหารการกินของคนญี่ปุ่นใ…

  5. ตามติดชีวิตคนไทยในญี่ปุ่น EP.2

  6. เส้นอุด้ง ราเมน และโซบะ ต่างกันอย่า…

  7. สิ่งที่คนญี่ปุ่นทำกันในวันปีใหม่

  8. นวัตกรรมโอลิมปิค Tokyo 2020