FINAL CALL! ทำสัญญากู้ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยภายใน 30 พฤศจิกายน 2021 นี้ นำไปลดหย่อนภาษีได้!
“การลดหย่อนภาษีสำหรับผู้กู้ซื้อที่อยู่อาศัย” อันเป็นผลประโยชน์ใหญ่สำหรับผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัยเอง กำลังใกล้จะหมดเขตในเร็วๆนี้แล้ว สำหรับท่านที่ต้องการซื้อที่ดินมาสร้างอาคารมือหนึ่งด้วยตัวเองใหม่ สิทธิการรับเรื่องลดหย่อนภาษีได้หมดเขตรับไปแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2021 ที่ผ่านมา ในขณะที่คอนโดมิเนียมและที่พักอาศัยมือสองจำกัดการรับสิทธิสำหรับผู้ทำสัญญาซื้อภายใน 30 พฤศจิกายน 2021 นี้
1. การลดหย่อนภาษีจากการกู้ซื้อบ้านคืออะไร?
การลดหย่อนภาษีจากการกู้ซื้อบ้านคือ ระบบที่ผู้กู้ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยเองสามารถลดหย่อนภาษีเงินได้และภาษีท้องถิ่นได้ถึง 1% ของจำนวนเงินต้นคงเหลือ สูงสุด 5 แสนเยนต่อปี นานที่สุดถึง 13 ปี ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศจะช่วยเหลือในส่วนของการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ ในขณะที่ปัจจุบันผู้ยื่นขอสินเชื่อจำนวนไม่น้อยได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า 1% จึงได้ประโยชน์จากระบบนี้เป็นอย่างมาก
อ้างอิงรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความก่อนหน้า ↓
2. ได้ประโยชน์จริงแค่ไหน?
ข้อมูลในด้านล่างนี้เป็นข้อมูลที่บริษัท ARUHI ผู้ดูแลเรื่องสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ได้จำลองขึ้น โดยคำนวณการลดหย่อนภาษีเป็นระยะเวลา 10 ปี ตามวงเงินกู้ และรายรับต่อปี แม้จำนวนเงินที่สามารถลดหย่อนภาษีได้จะแตกต่างไปตามรายรับต่อปี แต่ก็กล่าวได้ว่าเป็นระบบที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะสามารถลดหย่อนภาษีได้หลายล้านเยน
*ทั้งนี้เงื่อนไขเป็นไปตามกรณีตัวอย่างตัวอย่างด้านล่างนี้
ตารางประมาณจำนวนเงินลดหย่อนภาษีในระยะเวลา 10 ปี (จำนวนในวงเล็บคือกรณีลดหย่อนภาษีได้ 13 ปี) ตามรายรับต่อปี และวงเงินกู้
กรณีตัวอย่าง
โครงสร้างครอบครัว | ผู้ยื่นขอสินเชื่อ (พนักงานบริษัท) , ภรรยา (แม่บ้าน), บุตร (อายุไม่เกิน 16 ปี) |
ข้อมูลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย | ดอกเบี้ย (คงที่) 1.3% , ระยะเวลากู้ 35 ปี, คิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) |
ข้อมูลที่อยู่อาศัย | ที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ ที่มีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม และพื้นที่ใช้สอยตรงตามเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี |
3. ควรจะซื้อที่อยู่อาศัยแบบใดดี?
①เงื่อนไขอาคาร
-ที่อยู่อาศัยที่พื้นที่ใช้สอยขนาด 40㎡ ขึ้นไป(แต่ที่อยู่อาศัยที่พื้นที่ใช้สอยขนาด 40㎡~50㎡จะเข้าเกณฑ์ลดหย่อนภาษีได้เฉพาะกรณีที่รายรับในครัวเรือนตำกว่า 10 ล้านเยนต่อปีเท่านั้น)
-สร้างภายใน 20 ปี(กรณีอาคารทนไฟ สร้างภายใน 25 ปี)หรืออาคารที่มีโครงสร้างตรงตามข้อกำหนดการรองรับแผ่นดินไหว
-ทำสัญญาซื้อขายภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2021
-เข้าอยู่ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2021 กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม และภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2022 กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. ผู้ที่สามารถขอลดหย่อนได้มีใครบ้าง?
-บุคคลทุกสัญชาติ
-บุคคลผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
-บุคคลผู้มีรายรับต่อปีต่ำกว่า 30 ล้านเยน
5. ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป การลดหย่อนภาษีกรณีขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะเป็นอย่างไรต่อไป?
รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการอภิปรายถึงแนวโน้มที่จะขยายเวลา “การลดหย่อนภาษีจากการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหลังจากปีหน้าต่อไป” เนื่องจากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะขยายเวลาออกไปหรือไม่ แต่ประเด็นหนึ่งที่เป็นที่จับตามองคือ อาจมีการ “ลดอัตราการลดหย่อนลง” เนื่องจากหลายความคิดเห็นกล่าวว่าอัตราลดหย่อนภาษีสูงเกินไปในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำเช่นนี้ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่แม้ว่าจะมีการขยายเวลาลดหย่อนภาษีออกไป ก็จะมีการปรับข้อกำหนด “อัตราการลดหย่อนภาษีให้อยู่ที่ 1% หรือตามอัตราดอกเบี้ยจริง แบบใดแบบหนึ่งที่เป็นอัตราที่ต่ำกว่า”
ดังนั้นท่านอาจจะต้องเร่งวางแผนการซื้อให้เร็วขึ้น หากต้องการแน่ใจว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์นี้